การพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพร

โดย: วีรนุช รัตนพฤติกุล, สุวลักษณ์ สุนทรพจน์    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , ปองทิพย์ สิทธิสาร , แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ยาสีฟันสมุนไพร, เปลือกผลมังคุด, ฟันผุ, Herbal toothpaste, Mangosteen, Tooth decay
บทคัดย่อ:
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพรที่มีคุณภาพดี สามารถป้องกันโรคฟันผุได้ โดยผสมสารสกัดหยาบจากเปลือกผลมังคุดที่สกัดด้วย Ethanol 90% จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดเปลือกผลมังคุดด้วย Thin Layer Chromatography(TLC) เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน α-mangostin พบว่าสารสกัดเปลือกผลมังคุดมีสาร α-mangostin เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งสารนี้เป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคเหงือกและโรคฟันผุ จากนั้นนำสารสกัดเปลือกผลมังคุดไปทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ S. mutans โดยวิธี disc diffusion พบว่าสารสกัดเปลือกผลมังคุดสามารถยับยั้งเชื้อ S. mutans ได้ และเมื่อทดสอบโดยวิธี broth dilution เพื่อหาค่า Minimum inhibitory concentration (MIC) พบว่าสารสกัดเปลือกผลมังคุดมีค่า MIC เท่ากับ 3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร แต่เมื่อนำสารสกัดจากเปลือกผลมังคุดมาผสมในตำรับยาสีฟัน พบว่าต้องมีความเข้มข้นของสารสกัดไม่น้อยกว่า 10 เท่าของ MIC คือเท่ากับ 4 กรัมในยาสีฟัน 100 กรัม โดยทดลองพัฒนาตำรับยาสีฟัน 2 ตำรับ ตำรับที่ 1 เป็นยาสีฟันเนื้อครีม สีน้ำตาล ไม่ใส่เกลือ ตำรับที่ 2 เป็นยาสีฟันเนื้อครีม สีน้ำตาล ใส่เกลือ เมื่อได้ตำรับยาสีฟันทั้ง 2 ชนิดแล้ว นำมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ S. mutans โดยวิธี disc diffusion และ broth dilution พบว่าตำรับยาสีฟันทั้ง 2 ตำรับสามารถยับยั้งเชื้อ S. mutans ได้และมีค่า MIC เท่ากับ 2.3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนผลการทดสอบความคงตัวของยาสีฟันในสภาวะเร่ง(อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 6 สัปดาห์) พบว่ายาสีฟันมีลักษณะค่อนข้างเหลวทั้ง 2 ตำรับ จากการประเมินความพึงพอใจในอาสาสมัคร 30 คน พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับปานกลางทั้ง 2 ตำรับ และพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงเรื่องปริมาณฟองและความหนืดของยาสีฟันให้มากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพรให้มีความคงตัวที่ดีขึ้นต่อไป
abstract:
This project aimed to develop a toothpaste formulation with good quality from 90% alcoholic extract of mangosteen (Garcinia mangostana Linn.) fruit rind for anti-decay of the teeth. The chemical constituent in the extract was studied by Thin Layer Chromatography (TLC) compared with α-mangostin, an active ingredient of the mangosteen fruit rind. The extract was tested for antibacterial activity against Streptococcus mutans, an important bacteria causing tooth decay, by disc diffusion and Broth dilution methods. The results showed that the mangosteen fruit rind extract could inhibit S. mutans with minimum bactericidal concentration (MBC) at 3 mg/ml. The toothpaste preparation should contain the extract not less than 10 times of MBC, i.e. 4 g of the extract in 100 g of toothpaste. Two formulations of toothpaste were developed. Formulation 1 (brown paste, containing no salt) and formulation 2 (brown paste, containing salt). Both formulations were tested for antibacterial activity against S. mutans by Disc diffusion and Broth dilution methods and found that they could inhibit S. mutans with the same MBC at 2.3 mg/ml. The Stability test (at 45oC for 6 weeks) of both formulations showed that they were soft and not stable. The satisfaction test was done in 30 volunteers and showed the moderate satisfaction. The viscosity and foam of the formulations should be improved. Thus, further study should be done on developing of the better stable toothpaste preparations.
.