การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเทอเรสและต้านเชื้อแบคทีเรียของต้นไม้หอมอินเดีย (Santalum album Linn.)

โดย: น.ส. ปคุณา บริพันธ์ทวีนันท์, น.ส. อังคณา โควีระวงศ์    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา:    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเทอเรส, ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ไม้หอมอินเดีย (Santalum album Linn.), Antioxidation, Antiacetylcholinesterase, Antibacterial, Sandalwood (Santalum album Linn.)
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหยจากส่วนรากและสารสกัดจากส่วนต่างๆของไม้หอมอินเดีย ด้วยตัวทำละลายเฮกเซน เอทิลอะซิเตต และเอทานอล ตามลำดับ แล้วนำสารสกัดทีได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH method เปรียบเทียบกับวิตามินซี ซึ่งมีค่า EC50 เท่ากับ 2.75 μg/mL พบว่า สารสกัดด้วยเอทานอลจากรากหลังจากการกลั่นน้ำมันหอมระเหยไปแล้วมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 15.13 μg/mL รองลงมา คือ สารสกัดด้วยเฮกเซนจากใบ สารสกัดด้วยเอทานอลจากรากและใบ สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตตจากใบและราก ซึ่งมีค่า EC50 เท่ากับ 68.53, 111.50, 116.45, 158.54 และ 205.64 μg/mL ตามลำดับ การศึกษาฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซิติลโคลีนเอสเทอเรส โดยใช้วิธี TLC ร่วมกับการทดสอบด้วยวิธี Ellman s method ปรากฎว่า สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตตจากกิ่งและราก และสารสกัดด้วยเอทานอลจากกิ่ง รากและใบ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียโดยวิธี agar dilution method ที่มีความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเท่ากับ 1mg/15μL พบว่าน้ำมันหอมระเหย สารสกัดด้วยเอทานอลจากรากหลังจากการกลั่นน้ำมันหอมระเหยไปแล้ว สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตตจากกิ่ง และสารสกัดด้วยเฮกเซนจากใบ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S.aureus ส่วนน้ำมันหอมระเหย สารสกัดด้วยเอทานอลจากรากหลังการกลั่นน้ำมันหอมระเหยไปแล้ว สารสกัดด้วยเฮกเซนจากราก และสารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตตจากราก มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ B.subitillis แต่ไม่มีสารสกัดใดที่สามารถยับยั้ง E.coli ได้ จากผลการศึกษาของโครงการวิจัยดังกล่าว ทำให้ทราบถึงฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากส่วนต่างๆของต้นไม้หอมอินเดีย เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการวิจับแยกสารให้บริสุทธิ์ หรือพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
abstract:
This project is the studies on the biological activities of volatile oil from the root, the extracts from various parts of Sandalwood (Santalum album Linn.) which were extracted by hexane, ethyl acetate and ethanol respectively. The extracts were then tested for antioxidant, anti-acetylcholinesterase, and antibacterial activities. The antioxidant activity was tested by DPPH method using vitamin C (EC50 2.75 μg/ml) as positive control. The result showed that ethanol extract of the root after water distillation exhibited the most antioxidant activity with the EC50 of 15.13 μg/mL. Moreover, the the hexane extract of leaves, ethanol extract of root and leaves, and the ethyl acetate extracts of leaves and root exhibited antioxidant activities with the EC50 of 68.53, 111.50, 116.45, 158.54 and 205.64 μg/mL, respectively. The ethyl acetate extracts of the twigs and root and the ethanol extract of twigs root and leaves displayed antiacetylcholinesterase activity which was tested by TLC with the Ellman s method. Antibacterial activities were tested by agar dilution method at concentration 1 mg/15μL of volatile oil and the crude extracts. The result showed that, volatile oil, the ethanol extract of the root after water distillation, the ethyl acetate extract of the twigs and the hexane extract of the leaves displayed the antibacterial activity against S. aureus. While the volatile oil, ethanol extract of the root after water distillation, the hexane and ethyl acetate of the root showed the antibacterial activity against B. subtilis. No any extracts showed the antibacterial activity against E. coli. The results of the study led to more information about the biological activities of the sandalwood, which guided to the purification of the extracts or the product development.
.