ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและไขมันในเลือดผิดปกติและปัญหาจากการใช้ยาในโรคดังกล่าวดังกล่าวในข้าราชการคร

โดย: กาญจนา ปวีณวิทยโรจน์, บุณยรัชต์ พงษ์สุวรรณ    ปีการศึกษา: 2548    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , ยุวดี วงษ์กระจ่าง ,    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: โรคเบาหวาน,ความดันโลหิต,ไขมันในเลือด,ปัญหาจากการใช้ยา, hypertension, diabetes, dyslipidemia, drug-related problems
บทคัดย่อ:
โรคความดันโลหิตสูง,เบาหวานและไขมันในเลือดผิดปกติเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคดังกล่าวและปัญหาจากการใช้ยาในการรักษาโรคเหล่านั้นในกลุ่มข้าราชการครู วิธีการวิจัยทำโดยการสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจวัดความดันโลหิต ระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดโดยกลุ่มเป้าหมายคือ ข้าราชการครูที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่ยินยอมเข้าร่วมการวิจัยจากโรงเรียน 5 แห่งในเขตราชเทวี ผลการศึกษาในตัวอย่างจำนวน 176 คน พบความชุกของ prehypertension เท่ากับร้อยละ 43.2 และความชุกของโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับร้อยละ 9.1 โดยผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาเพียงร้อยละ 31.25 สำหรับโรคเบาหวานพบว่าความชุกของการมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วง prediabetes เท่ากับร้อยละ 15.3 และความชุกของโรคเบาหวานเท่ากับร้อยละ 2.8 สำหรับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติพบความชุกเท่ากับร้อยละ 39.2 โดยเป็นชนิด hypercholesterolemia และ hypertriglyceridemia ถึงร้อยละ 19.9 และ 13.1 ตามลำดับ ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับการรักษาเพียงร้อยละ 13.04 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่าร้อยละ 88.6, 9.1 และ 2.3 จัดว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 0-1 ชนิด มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ชนิดและ CHD risk equivalent ตามลำดับ ในส่วนของปัญหาจากการใช้ยา พบว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่ได้รับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงระบุว่าเคยเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา นอกจากนี้ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 50 ไม่ได้ทำการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตตามคำแนะนำของแพทย์ โดยสรุปผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ข้าราชการครูเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง โดยพบภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมากเป็นอันดับหนึ่ง นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคยังไม่ได้รับการรักษาและยังไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพที่ดีพอ ดังนั้นข้อมูลในงานวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
abstract:
Hypertension, diabetes and dyslipidemia are major health problems in Thailand.The objective is to investigate the prevalence of these chronic disease along with drug-related problems among public school teachers whose age is 35 and older in 5 school in Rajthevee district of Bangkok. Participants who agreed and consented to be included in the study were interviewed.Fasting blood glucose and lipid profile were performed using a validated fingerstick automated machine. Result: Among 176 participants, the prevalence of prehypertension and hypertension were 43.2% and 9.1%, respectively. For those with hypertension, only 31.25% were treated. For diabetes, the prevalence of prediabetes and diabetes were 15.3% and 2.8%, respectively. The prevalence of dyslipidemia was 39.2%. Most common types of of dyslipidemia were hypercholesterolemia (19.9%) and hypertriglyceridemia (13.1%). Among these, only 13.04% were treated. Overall, the proportion of teacher with 0-1 risk factor, > 2 risk factors and coronary heart disease equivalent were 88.6%, 9.1% and 2.3%, respectively. For drug-related problems, 30% among hypertension who were treated experienced adverse drug reactions. In addition, more than half of patients were not adhere to life style modification. In conclusion, public school teachers can be considered as a population with high-risk for cardiovascular diseases. Dyslipidemia is the most common risk factor in this population. Importantly, those with diseases were not adequately treated with both pharmacological and non-pharmacological interventions. These results indicate that strategies to solve this problem are greatly needed in this population
.