การวิเคราะห์ยาอิริโทรมัยซินสเตียเรทโดยวิธีทางสเปกโตรโฟโตเมตรี

โดย: รัตยา รัตนพลทวีชัย, วชิรานี วงศ์ก่อม    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา: ลีณา สุนทรสุข , ลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: อิริโทรมัยซินสเตียเรท, สเปกโตรโฟโตเมตรี, อนุพันธ์ลําดับที่ 1, Erythromycin stearate, Spectrophotometry, First derivative measurement
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการพัฒนาวิธีวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณยาอิริโทรมัยซินสเตียเรทโดยวิธีทางสเปกโตรโฟโตเมตรี โดยศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคนิคต่างๆ ของสเปกโตรโฟโตเมตรีเช่น การวัดค่าการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตโดยตรง, การทําอนุพันธ์ลําดับที่ 1, การทําปฏิกิริยากับคริสตัลไวโอเลตเพื่อให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่สามารถดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ประกอบกับการใช้ Standard addition method จากการศึกษาพบว่าวิธีที่ให้ค่าการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตที่เหมาะสม คือ การวัดค่าการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตโดยตรงและอนุพันธ์ลําดับที่ 1 โดยใช้เมทานอลเป็นตัวทําละลายและใช้ ไดเบสิกโปแตสเซียมฟอสเฟตบัฟเฟอร์ ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 8 เพื่อไฮโดรไลท์เกลือสเตียเรทออกจากอิริโทรมัยซินซึ่งให้ค่าการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต สูงสุดที่ความยาวคลื่น 285 และ 300 นาโนเมตร ตามลําดับ การประเมินความถูกต้องของวิธีสเปกโตรโฟโตเมตรีทั้งการวัดค่าการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตโดยตรงและอนุพันธ์ลําดับที่ 1 พบความสัมพันธ์เป็นสมการเส้นตรงที่ดี (r 2 = 0.9995 และ 0.9993 ตามลําดับ) ในช่วงความเข้มข้น 3- 15 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมีค่าความแม่นยําที่ดี (%RSD < 3.0%) โดยมีลิมิตการตรวจวัดของการวัดค่าการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตโดยตรงและอนุพันธ์ลําดับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.08 และ 1.32 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ ลิมิตการวิเคราะห์เชิงปริมาณของการวัดค่าการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตโดยตรงและอนุพันธ์ลําดับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.24 และ 4.00 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลําดับ เมื่อนําวิธีนี้ไปวิเคราะห์ยาอิริโทรมัยซินสเตียเรทสําเร็จรูปทั้งชนิดเม็ดและแคปซูล พบค่าความถูกต้องของวิ ธี การวั ดค่ าการดู ดกลื นรังสีอัลตราไวโอเลตโดยตรงและอนุพันธ์ ลําดับที่ 1(คํานวณจาก %Recovery) เท่ากับ 43.78 - 66.09 % และ 97.55 - 106.52 % ตามลําดับ จาก การศึกษาพบว่ามีสิ่งรบกวนจากส่วนประกอบอื่นในยาสําเร็จรูปซึ่งรบกวนการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต จึงควรจะมีการใช้ยาเม็ดหลอกมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อตัดสัญญาณรบกวนออกและประเมินความถูกต้องของวิธีอีกครั้งหนึ่ง
abstract:
The purpose of this special project was to develop the spectrophotometric methods for the analysis of erythromycin stearate. Different techniques (e.g. direct UVand first derivative measurement and complex formation) and standard addition method were investigated. Direct UV and first derivative measurement at the wavelengths of 285 and 300 nm, respectively, gave promising results on the analysis of erythromycin stearate. In both techniques, methanol was used as a solvent and dibasic potassium phosphate buffer (pH 8) was used to hydrolyse erythromycin stearate to free erythromycin. The spectrophotometric method by direct UV and first derivative measurement illustrated excellent linearities (r 2 = 0.9995 and 0.9993, respectively) in the concentration range of 3 - 15 mg/mL. Precision was good (%RSD < 3.0%). The limits of detection (LOD) of direct UV and first derivative measurement were 0.08 and 1.32 mg/mL, respectively. The limits of quantitation (LOQ) of direct UV and first derivative measurement were 0.24 and 4.00 mg/mL, respectively. The developed methods were appiled for the analysis of erythromycin stearate in tablets and capsules. The accuracy of the spectrophotometric method by direct UV and first derivative measurement were determined form percent recovery (%R) using standard addition method, which were 43.78 - 66.09% and 97.55 - 106.52%, respectively. Data indicated that excipients in dosage forms (e.g. tablats and capsules) strongly interfered the UV absorption of erythromycin. Therefore, further investigation should be performed by measuring the UV absorbance of the placebo and re-evaluating the accuracy of the method.
.