อิทธิผลขององค์ประกอบในตำรับต่อการปลดปล่อยไอบูโพรเฟนจากอิมัลชั่นเจล |
โดย: กุลธิดา บัณพราภิวัฒน์,พงศ์วิทย์ วิทยาภิมัณฑน์ ปีการศึกษา: 2540 กลุ่มที่: 29 อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา , ฤดี เสาวคนธ์ , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: , |
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ศึกษาถึง ผลของชนิดและปริมาณของสารช่วยในตำรับอันได้แก่ isopropanol (IPA), isopropyl myristate (IPM) และ propylene glycol (PG) ที่มีผลต่อการปลดปล่อยตัวยาไอบูโพรเฟนจากยาเตรียมอิมัลชั่นเจล โดยใช้ Enhancer cell และควบคุมอุณหภูมิของ release medium ให้เท่ากับ 37 ํC จากการศึกษาพบว่า ปริมาณการปลดปล่อยตัวยาต่อหน่วยพื้นที่จากยาเตรียมทุกตำรับมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรากที่สองของเวลา ซึ่งเป็นไปตาม Higuchi"s model of diffusionเมื่อมีการปรับเปลี่ยนปริมาณ IPM เป็น 0, 2, 4 และ 6% โดยน้ำหนักของตำรับ มีผลต่ออัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาจากยาเตรียมอิมัลชั่นเจล (KH) อย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง (p<<0.01, ANOVA test) และเมื่อเปรียบเทียบ KH ของแต่ละตำรับพบว่า IPM 0% < 2% = 4% > 6% [p = 0.01, 2 tails; Least Significant Difference Procedure (LSD)] เมื่อมีการปรับเปลี่ยนปริมาณ IPA เป็น 0, 5, 10 และ 15% โดยน้ำหนักของตำรับ จะมีผลต่อ KH อย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง (p << 0.01, ANOVA test) และเมื่อเปรียบเทียบ KH ของแต่ละตำรับพบว่า IPA 0% < 5% = 10% > 15% (p = 0.01, 2 tails; LSD) และเมื่อปรับเปลี่ยนปริมาณ PG เป็น 0, 5, 10, 15 และ 20% โดยน้ำหนักของตำรับ พบว่ามีผลต่อ KH อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01, ANOVA test) และเมื่อเปรียบเทียบ KH ของแต่ละตำรับจะพบว่า PG 0% = 5% < 10% > 15% > 20% (p = 0.05, 2 tails; LSD) สำหรับการศึกษาผลของสารช่วยในตำรับที่มีต่อความหนืดของยาเตรียมอิมัลชั่นเจลพบว่าปริมาณของ IPM ที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มทำให้ความหนืดเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณของ IPA และ PG ที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มทำให้ความหนืดลดลง |
abstract: The effect of various concentrations of three excipients, namely isopropyl myristate (IPM), isopropanol (IPA), and propylene glycol (PG) on the in vitro release of ibuprofen (IBP) from emulsion gels (EG) were investigated using enhancer cells containing pH 7.4 phosphate buffer solution with 20% IPA as a releasing medium. From regression analysis, each formulation of EG showed high correlation between the amount of IBP release per unit area and the square root of time. The slope of each linear regression line was treated as the Higuchi,s rate constant (KH) of IBP release from EG. From analysis of variance, results showed that KH could be significantly affected by the concentration of each excipient (p < 0.01). KH of EG containing various concentrations of IPM could be arranged as: 0% < 2% = 4% > 6%, where as KH of those containing various concentrations of IPA could be arranged as: 0% < 5% = 10% > 15% (p = 0.01, 2 tails; LSD). When PG was used in EG, results showed that KH could be arranged as: 0% = 5% < 10% > 15% > 20% (p = 0.05, 2 tails , LSD). |
. |