การศึกษาหาสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อก่อสิวจากน้ำมันไม้หอมอินเดีย |
โดย: น.ส.จุฑามาศ ชนะสุข ,น.ส.วรพรรณ คุณพรไพศาล ปีการศึกษา: 2556 กลุ่มที่: 28 อาจารย์ที่ปรึกษา: ณัฏฐินี อนันตโชค , มัลลิกา ชมนาวัง ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: ไม้หอมอินเดีย, Staphylococcus epidermidis, Propionibacterium acnes, Santalum album, Staphylococcus epidermidis, Propionibacterium acnes |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาหาสารออกฤทธิ์ของน้ามันไม้หอมอินเดียในการต้านเชื้อ Staphylococcus epidermidis และ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิว โดยการสกัดน้ามันหอมระเหยของแก่นไม้หอมอินเดียด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้า ได้ปริมาณน้ามันหอมระเหยคิดเป็นร้อยละปริมาตรโดยน้าหนักเท่ากับ 0.254 และแยกสารสาคัญในน้ามันหอมระเหยที่สกัดได้ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโตกราฟี โดยใช้ซิลิกาเจลชุบซิลเวอร์ไนเตรตเป็นวัฏภาคคงที่ และใช้เฮกเซนผสมไดคลอโรมีเทนเป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ และตรวจสอบส่วนของสารที่แยกได้ด้วยวิธีทินแลร์โครมาโตกราฟี ได้สารบริสุทธิ์ 2 ชนิด คือ α-santalol และ β-santalol ซึ่งพิสูจน์โครงสร้างของสารทั้ง 2 ชนิด โดยวิธีทางสเปกโทรสโคปี ได้แก่ นิวเคลียร์แมกนีติกรีโซแนนซ์สเปกโทรสโคปี (NMR) และ แก๊สโครมาโตกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรี (GC-MS) การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวคือ Staphylococcus epidermidis และ Propionibacterium acnes ของน้ามันหอมระเหย สารสกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซนจากแก่นไม้หอมอินเดีย สาร α-santalol สาร β-santalol และส่วนผสมของสารทั้งสองชนิด ด้วยวิธี Broth dilution โดยหาค่าความเข้มข้นน้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้(MIC)และหาค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้(MBC)สาหรับฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. epidermidis พบว่ามีค่า MIC เท่ากับ 0.5, 1, 0.0625, >1 และ 0.0078125 %v/v ตามลาดับ และมีค่า MBC เท่ากับ >1, >1, >0.5, >1 และ >0.0625 %v/v ตามลาดับ ส่วนฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย P.acnes พบว่ามีค่า MIC เท่ากับ 0.0019531, 0.0039062, 0.0039062, >1 และ 0.0009766 %v/v ตามลาดับและมีค่า MBC เท่ากับ >0.015625, >0.03125, >0.03125, >1 และ >0.0078125 %v/v ตามลาดับ จากข้อมูลข้างต้นพบว่าสารผสมระหว่าง α-santalol และ β-santalol มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่นามาทดสอบได้ดีที่สุด |
abstract: The objective of this special project is to study the anti-acne compounds from Sandalwood oil against Staphylococcus epidermidis and Propionibacterium acnes which are the major cause of acne. The sandalwood oil was extracted by hydrodistillation to yield 0.254 % v/w. The volatile oil was separated by column chromatography over AgNO3 coated silica gel eluted with the mixture of hexane and dichloromethane. The fractions were analysed by Thin Layer Chromatography (TLC) method to give two isolated compounds, α-santalol and β-santalol of which the structures were identified by Nuclear Magnetic Resonance (NMR) spectroscopy and Gas Chromatography- Mass Spectrometry (GC-MS). The volatile oil and hexane extract of the sandalwood stem, α-santalol, β-santalol and the mixture of α-santalol and β-santalol were evaluated for anti-bacterial activity against S. epidermidis and P. acnes by broth dilution method. The tested samples could inhibit the growth of S. epidermidis with the MIC values of 0.5, 1, 0.0625, >1 and 0.0078125 %v/v and the MBC values of >1, >1, >0.5, >1 and >0.0625 %v/v, respectively. Moreover, they also exhibited anti-bacterial activity against The MIC of compounds against P. acnes with the MIC values of 0.0019531, 0.0039062, 0.0039062, >1 and 0.0009766 %v/v and the MBC values of >0.015625, >0.03125, >0.03125, >1 and >0.0078125 %v/v, respectively. The results showed that the mixture of α-santalol and β-santalol had the most effective bacteriostatic and bactericidal action against those of acne-inducing bacteria. |
. |