การพัฒนาวิธีการตรวจสอบ Markersในสารสกัดลูกประคบสมุนไพร |
โดย: นางสาวพรพิมพ์ แซ่เตียว,นางสาวสุชีลา บุญจันทร์ ปีการศึกษา: 2555 กลุ่มที่: 28 อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , อัญชลี จินตพัฒนากิจ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ Keyword: สารสกัดลูกประคบสมุนไพร, ขมิ้นชัน, curcuminoids, Densitometer, Thin Layer Chromatography , Herbal compress extract, Turmeric, Curcuminoids, Densitometer, Thin Layer Chromatography |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมคุณภาพของลูกประคบสมุนไพร โดยตรวจสอบปริมาณสารสำคัญที่อยู่ในสารสกัดลูกประคบสมุนไพรดังนี้ คือ curcuminoids จากขมิ้นชันและไพล, citral จากตะไคร้บ้าน, limonene จากผิวมะกรูด และ borneol จากใบหนาด ทดลองโดยเตรียมสารสกัดสมุนไพรรวมโดยวิธีสกัดแบบไหลผ่านด้วย 95%เอธานอล และเตรียมสารสกัดสมุนไพรแต่ละชนิดโดยวิธีการหมักด้วย 95%เอธานอล นาน 7 วัน จากนั้นระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่องกลั่นระเหยสารแบบลดความดัน แล้วนำสารสกัดที่ได้มาเตรียมเป็นสารละลาย จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญในสารสกัดรวม และสารสกัดของสมุนไพรแต่ละชนิดเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานโดยใช้วิธี Densitometry และใช้แผ่น TLC silica gel GF254 เป็นเฟสอยู่กับที่ และมี Chloroform : Methanol = 95:5 เป็นตัวทำละลายเคลื่อนที่สำหรับสารสกัดขมิ้นชัน, ไพล, ตะไคร้บ้าน และผิวมะกรูด และใช้ Toluene:Ethyl acetate = 7:93 เป็นตัวทำละลายเคลื่อนที่สำหรับสารสกัดใบหนาด โดยวัดความเข้มข้นของแถบภายใต้แสงอุลตราไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 254, 366 และ 420 นาโนเมตร พบว่าในสารสกัดรวมมี curcuminoids 1.4% w/w, limonene 1 % w/w, citral 0.9 % w/w และ borneol 0.1 % w/w ส่วนการวิเคราะห์สารสกัดแต่ละชนิด พบว่า สารสกัดขมิ้นและไพลมี curcuminoids 5.1%w/w และ 0.6 % w/w ตามลำดับ สารสกัดตะไคร้บ้านมี citral 0.5 % w/w สารสกัดผิวมะกรูดมี limonene 5.1 % w/w และสารสกัดใบหนาดมี borneol 0.6 % w/w สรุปได้ว่าสารสกัดลูกประคบที่ได้มีสารเคมีสำคัญที่ได้จากสมุนไพรในองค์ประกอบทุกตัว และตัวทำละลายเคลื่อนที่เหมาะสมในการแยกสารเหล่านั้นได้ ดังนั้นควรที่จะทำการ validate วิธีวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป |
abstract: This special project aimed to develop a method for determination of markers in herbal compress extract. The active ingredients investigated are curcuminoids from turmeric and Zingiber cassumunar, citral from lemon grass, limonene from leech lime and borneol from ngai camphor tree. Crude extract was extracted by percolation using 95% ethanol and each extract was extracted by maceration for 7 days. After filtration, the filtrates were evaporated by rotary evaporator. Semisolid crude extracts were redissolved and investigated for the chemical contents by densitometry. The chromatograms were developed by using silica gel GF254 as a stationary phase and chloroform and methanol at a ratio of 95 : 5 as a mobile phase for turmeric, Zingiber cassumunar, lemon grass and leech lime extract, toluene and ethyl acetate at a ratio of 7 : 93 as a mobile phase for ngai camphor tree and under ultra violet light at 254 nm, 366 nm and 420 nm as detector. It was shown that the crude herbal compress extract contained 1.4%w/w curcuminoids, 1%w/w limonene, 0.9%w/w citral and 0.1%w/w borneol. For each extract determination, turmeric and Zingiber cassumunar contained 5.1% w/w and 0.6%w/w of curcuminoids, respectively, 0.9%w/w citral from lemon grass, 5.1%w/w limonene from leech lime and 0.6%w/w borneol from ngai camphor tree. In conclusion, the herbal compress extract contained the chemical compounds from each component in the formula. The mobile phase is suitable to separate these bands. Thus, validation of this method should be done further. |
. |