การพัฒนาตำรับเครื่องดื่มชงละลายจากใบบัวบก

โดย: นันทิชา ว่องวิจิตรศิลป์, นุตประวีณ์ หวังสู้ศึก    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 28

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปองทิพย์ สิทธิสาร , วันดี กฤษณพันธ์ , ปิยนุช โรจน์สง่า    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: บัวบก, เครื่องดื่มชงละลาย, Centella asiatica, instant drink, asiaticoside, TLC-densitometry
บทคัดย่อ:
บัวบก (Centellaasiatica (L.) Urban) เป็นพืชสมุนไพรไทยที่นิยมบริโภคเป็นอาหารและเครื่องดื่มมาเป็นเวลานาน สารสำคัญในบัวบก คือ asiaticosideซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การวิจัยครั้งนี้เป็นศึกษาวิธีการเตรียมสารสกัดจากใบบัวบกที่ให้ปริมาณสารสกัดแห้งและสารสำคัญที่สูง และวิธีการพัฒนาตำรับเครื่องดื่มชงละลายจากใบบัวบกให้มีลักษณะทางกายภาพที่ดี โดยการทดลองนี้ศึกษาการเตรียมสารสกัดใบบัวบก 2 วิธี ได้แก่ การคั้นสด และการอบผงใบบัวบกให้แห้งแล้วนำมาต้มสกัด รวมทั้งศึกษาการทำให้แห้งโดยเครื่องมือ spray dryและ freeze dry สารสกัดที่ได้ทั้ง 4 ตำรับถูกนำมาวิเคราะห์ปริมาณสาร asiaticosideโดยวิธี TLC-densitometry ผลการทดลองพบว่า การเตรียมสารสกัดด้วยวิธีนำผงใบบัวบกมาอบแห้งแล้วต้มสกัด และทำเป็นผงแห้งด้วยวิธี spray dry เป็นวิธีการสกัดที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากเป็นวิธีที่ให้ปริมาณสารสกัดแห้งและสาร asiaticosideที่สูง จากการพัฒนาเครื่องดื่มชงละลายจากใบบัวบกพบว่า ปริมาณสารเพิ่มปริมาณได้แก่แลคโตสที่เหมาะสมคือ 15% และ 20%น้ำหนักต่อปริมาตร นอกจากนี้การผสมน้ำใบบัวบกคั้นสดซึ่งมีสีเขียวเข้มกับน้ำใบบัวบกที่ได้จากวิธีต้มสกัดผงแห้งที่อัตราส่วน 1:1 จะให้เครื่องดื่มชงละลายที่มีลักษณะทางกายภาพที่ดี เครื่องดื่มชงละลายจากใบบัวบกตำรับที่คัดเลือกแล้ว ได้ถูกนำไปประเมินความพึงพอใจในกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ด้วยวิธี 5 – Point Hedonic Scale ผลการทดลองพบว่า ตำรับที่ประกอบด้วย 20% แลคโตสโดยไม่มีการเติมสารสกัดคั้นสด ให้เครื่องดื่มชงละลายบัวบกที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด
abstract:
Centella (Centellaasiatica (L.) Urban) is a Thai herb that has been popularly consumed as food and drink for a long time. An active substance in centella which promotes good beneficial to human body is asiaticoside. This research is the study for suitable extraction method which promotes high extractive yield and high amount of active substance. The development of instant drinks from centella leaves with good physical characteristics was also conducted. Two extractive methods for centella leaf extracts were performed; fresh squeezing and decoction of dried centella leaf powder. The drying methods using spray dry and freeze dry machines were also done. Quantitative analysis of asiaticoside in four obtained centella leaf extracts by TLC-densitometric method was performed. The results revealed that decoction of dried centella leaf powder with spray dry method promoted high extractive yield and asiaticoside content. This process was then considered as the most suitable extraction method. From the development of centella instant drink, it was found that the suitable amounts of diluent, which is lactose, were 15%, and 20% w/v. Moreover, combination of the fresh squeezing centella extract which was dark green and extract from decoction of dried powder at the ratio of 1:1 promote the instant drink with good physical characteristics. The selected formulas of centella instant drink were analyzed for the preference in 30 samples using 5 – Point Hedonic Scale method. It was found that the formula of 20% lactose with no combination of fresh squeezing extract gave the most satisfactory centella instant drink.
.