ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นและฤทธิ์ต้านเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของสารสกัดรากผักแปม |
โดย: พรพิมล จันทมา, พัชราวลัย กลีบมะลิ ปีการศึกษา: 2554 กลุ่มที่: 27 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปองทิพย์ สิทธิสาร , วันดี กฤษณพันธ์ , ปิยนุช โรจน์สง่า ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, ผักแปม, phak-paem, Acanthopanax trifoliatus, antioxidant, anti-cholinesterase |
บทคัดย่อ: ผักแปม (Acanthopanax trifoliatus) เป็นพืชสมุนไพรในวงศ์ Araliaceae ที่พบมากในภาคเหนือของประเทศไทย มีการใช้ผักแปมเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์พื้นบ้านมาเป็นเวลานาน การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของสารสกัดรากผักแปมและรากโสมไซบีเรีย (Acanthopanax senticosus) โดยใช้วิธี DPPH scavenging assay พบว่าสารสกัดน้ำต้มของเปลือกรากผักแปมแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญโดยมีค่า EC50 = 21.73 ± 0.63 µg/mL ส่วนการตรวจสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสโดยวิธี Ellman’s method พบว่าสารสกัด 50 เปอร์เซ็นต์เอธานอลของเนื้อรากและเปลือกรากผักแปมแสดงฤทธิ์สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ คือมีค่า IC50 = 0.83 ± 0.05 และ 0.88 ± 0.01 mg/mL ตามลำดับ นอกจากนี้การวิเคราะห์ปริมาณฟีโนลิคและฟลาโวนอยด์รวมในสารสกัดตัวอย่างโดยวิธี Folin-Ciocalteu และ Aluminium chloride ตามลำดับ พบว่าสารสกัด 50 เปอร์เซ็นต์เอธานอลของเปลือกรากผักแปมมีปริมาณฟีโนลิคและฟลาโวนอยด์รวมสูงที่สุดคือ 32.62 ± 1.25 g% chlorogenic acid equivalent (g% CAE) และ 1.06 ± 0.10 g% rutin equivalent (g% RE) ตามลำดับ การศึกษาลักษณะทางโครมาโทกราฟีของสารสกัดโดยใช้วิธี thin layer chromatography (TLC) ตรวจสอบด้วยน้ำยาพ่นเฉพาะพบว่าสารสกัดเนื้อรากผักแปม เปลือกรากผักแปม และรากโสมไซบีเรีย มีลักษณะทางโครมาโทกราฟีที่คล้ายคลึงกัน โดยพบแถบสารที่มีคุณสมบัติตรงกับสารกลุ่มโพลีฟีโนลิคหลายชนิด เช่น chlorogenic acid, cynarin และ eleutheroside B ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากรากผักแปมมีฤทธิ์ดีในการต้านออกซิเดชั่นและต้านเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในหลอดทดลอง มีศักยภาพในการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาด้านอื่นๆ ตลอดจนควบคุมมาตรฐานของสารสกัดเพื่อพัฒนาใช้ในประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรมต่อไป |
abstract: Phak-paem (Acanthopanax trifoliatus), is a medicinal plant in Araliaceae family, commonly found in the North of Thailand. It has been used in traditional medicine for a long time. The study of antioxidative activity of extracts from the roots of phak-paem and Siberian Ginseng (Acanthopanax senticosus) using DPPH scavenging assay revealed that decoction root bark extract of phak-paem significantly exhibited the highest activity with EC50 of 21.73 ± 0.63 µg/mL. While determination of anti-cholinesterase effect using Ellman’s method showed that 50% ethanol extracts of the roots and root barks of phak-paem significantly exhibited the highest activity with IC50 of 0.83 ± 0.05 and 0.88 ± 0.01 mg/mL respectively. Moreover, determination of total phenolic and total flavonoid contents of the extracts by Folin-Ciocalteu and aluminium chloride method, respectively were conducted. It was found that 50% ethanol root bark extract of phak-paem contained the highest phenolic and flavonoid contents of 32.62 ± 1.25 g% chlorogenic acid equivalent (g% CAE) and 1.06 ± 0.10 g% rutin equivalent (g% RE), respectively. Analysis of chromatographical characteristic of the extracts was conducted by thin layer chromatography (TLC) with specific spraying reagents. Extracts from the roots, root barks of phak-paem and the roots of Siberian ginseng showed similar chromatograohic patterns with the bands corresponded to some polyphenolic compounds including chlorogenic acid, cynarin, and eleutheroside B. From the results, it was found that root extracts of phak-paem showed high in vitro antioxidative and anti-cholinesterase activities suggesting that this plant has potential of for further studies in active chemical constituents, other biological activities and standardization of plant extracts for pharmaceutical and medicinal purposes in the future. |
. |