การศึกษาแบคทีเรียทางทะเลที่แสดงฤทธิ์ต่อเชื้อก่อโรคในช่องปาก

โดย: น.ส.กรวิกา มากพึ่งพร, น.ส.ชมนันท์ มณีดำ    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 27

อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ฤทะต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก, disc diffusion , bioautograph , แบคทีเรียทางทะเล, antibacterial activity,periodontal disease , disc diffusion method , bioautography, marine microorganisms
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อคัดกรองหาแบคทีเรียทางทะเลที่แสดงฤทธิ์ต่อเชื้อก่อโรคในช่องปาก ได้แก่ เชื้อ Streptococcus sanquinis และเชื้อ Streptococcus mutans และทำการแยกตัวอย่างมาจากสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลบริเวณเกาะสีชัง จ.ชลบุรีทั้งหมด 11 ชนิด ตัวอย่างแบคทีเรียที่ได้มาเลี้ยงเพิ่มปริมาณในอาหารเหลว yeast - malt broth สกัดน้ำหมักเชื้อโดยวิธีการ partition โดยใช้เอธิลอะซีเตต หลังจากนั้นนำสารสกัดหยาบที่ได้จากแบคทีเรียแต่ละชนิดไปทดสอบหาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S.sanquinis และ S.mutans ด้วยวิธีการ disc diffusion พบว่าสารสกัดหยาบที่ได้จากเชื้อตัวอย่าง A1-1 และ B11-2 แสดงฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทั้งสองชนิด โดยเชื้อ A1-1 แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อทั้งสองได้ดีที่สุด สามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนส์ใสได้ 1.71 เซนติเมตร ในเชื้อ S.sanquinis และ 2.89 เซนติเมตร ในเชื้อ S.mutans จากนั้นทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อด้วยวิธี bioautography โดยใช้ระบบนำพา ไดคลอโรมีเทน:เมธานอล ในอัตราส่วน 9:1 โดยปริมาตร ผลปรากฎว่าส่วนที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดอยู่ในช่วง Rf เท่ากับ 0.56 เซนติเมตร ในเชื้อ S.sanquinis และ 0.63 ในเชื้อ S.mutans จากนั้นนำสารสกัดหยาบที่ได้มาแยกองค์ประกอบทางเคมีออกมาทั้งหมด 8 ส่วน (A-H) นำองค์ประกอบทั้งหมดมาหาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S.sanquinis และ S.mutans โดยวิธีการ disc diffusion ผลปรากฎว่าองค์ประกอบ B ของสารสกัดฝห้ฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อก่อโรคทั้งสอง สามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนส์ใสได้ 1.4 และ 4.5 เซนติเมตร ตามลำดับ
abstract:
The purpose of this study is to screen marine microorganisms for antimicrobial activity against bacteria causing periodontal disease, Streptococcus sanquinis and Streptococcus mutans. Eleven samples was collected from invertebrate marine animals in the Sichang Island, Chonburi, Thailand, then the samples were cultured in yeast  malt broth. The substances were extracted from the fermentation broth by partition method using ethlyacetate as solvent. The 11 crude extracts were tested for antibacterial activity by disc diffusion method against S. sanquinis and S. mutans. The results showed that the crude extract of A1-1 and B11-2 have the good activity but the best activity was A1-1 with the diameter of clear zone at 1.71 cm for S. sanquinis and 2.89 cm for S. mutans. Next, the components of crude extract which showed the antibacterial activity was studied by bioautography method using dichloromethane:methanol (9:1 v/v) as solvents. The results of bioautography showed the best active spot of Rf at 0.56 for S. sanquinis and 0.63 for S. mutans.The crude extract was further purified by column chromatography techniques and derived 8 fractions (A-H). Each fraction was tested for antibacterial activity against S. sanquinis and S.mutans by disc diffusion method. The result showed that the fraction B has the best activity with the diameter of clear zone at 1.4 cm for S. sanquinis and 4.5 cm.for S. mutans.
.