ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเอนไซม์ไทโรซิเนสของครีมตรีผลา |
โดย: น.ส.ปฏิมา บุญมาลี , น.ส.ปัทมา เทียนวรรณ ปีการศึกษา: 2556 กลุ่มที่: 26 อาจารย์ที่ปรึกษา: นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: ครีมตรีผลา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส, มะขามป้อม, สมอพิเภก, สมอไทย, Triphala cream, antioxidant, antityrosinase, Phyllanthus emblica, Terminalia bellirica, Terminalia chebula |
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ได้ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดตรีผลา คือ มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.), สมอไทย (Terminalia chebula Retz.) และ สมอพิเภก (Terminalia bellirica Roxb.) พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้น้อยกว่า Vitamin C ซึ่งเป็นสารเปรียบเทียบ (Vitamin C, ED50 = 1.78 μg/ml; มะขามป้อม, ED50 = 2.28 μg/ml; สมอพิเภก, ED50 = 5.06 μg/ml; สมอไทย, ED50 = 5.88 μg/ml) และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้น้อยกว่าสารมาตรฐาน kojic acid (kojic acid, ED50 = 0.04 μg/ml; สมอพิเภก, ED50 = 1.18 μg/ml; สมอไทย, ED50 = 1.50 μg/ml; มะขามป้อม, ED50 = 1.75 μg/ml) และผลตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นพบว่า สารสกัดทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วยสารกลุ่ม hydrolyzable tannins, alkaloids และ coumarins และปริมาณสาร gallic acid (โดยวิธี High Pressure Liquid Chromatography) ในสารสกัดมะขามป้อม สมอพิเภก และสมอไทย มีค่าเท่ากับ11.72, 6.90, 3.88%w/w ตามลาดับ หลังจากนั้นเตรียมสารสกัดตรีผลาเป็น 2 สูตร คือ สูตรที่ 1 ประกอบด้วย มะขามป้อม:สมอพิเภก:สมอไทย อัตราส่วน 3:2:1 และสูตรที่ 2 อัตราส่วน 1:1:1 แล้วนาไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่า สูตรที่ 1 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ได้ดีกว่าสูตรที่ 2 สารสกัดตรีผลาสูตรที่ 1 มี % gallic acid เท่ากับ 9.86 % สูตรที่ 2 มีปริมาณ 8.43 % ส่วนการเตรียมครีมตรีผลา ได้เตรียมด้วยกระบวนการที่ใช้ความร้อน และไม่ใช้ความร้อน โดยเตรียมเป็น 4 ความเข้มข้นคือ 0.05%,0.1%,0.2%และ0.5% แล้วทดสอบลักษณะทางกายภาพและเคมีของตารับครีมตรีผลา และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าตารับครีมตรีผลา สูตรที่ 1 ความเข้มข้น 0.2% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และเหมาะเป็นครีมที่จะพัฒนาต่อไปเป็นครีมบารุงผิว ทาให้ผิวกระจ่างใส |
abstract: The aims of project are to test antioxidative and antityrosinase activities of Triphala composed of Phyllanthus emblica (PE), Terminalia bellirica (TB), and Terminalia chebula (TC). The result showed that all crude extracts had antioxidative activity less than vitamin C, (vitamin C, ED50= 1.78 μg/ml; ED50= 2.28 μg/ml; TB, ED50= 5.06 μg/ml; TC, ED50= 5.88 μg/ml) and also had antityrosinase activity less than kojic acid (kojic acid, ED50= 0.04 μg/ml; TB, ED50= 1.18μg/ml; TC, ED50= 1.50 μg/ml; PE, ED50= 1.75 μg/ml). The phytochemical screening test showed that all crude extracts were composed of hydrolyzable tannins, alkaloids and coumarins. The contents of gallic acid as analyzed by HPLC method of PE, TB and TC extracts were 11.72, 6.90, 3.88 %w/w, respectively. Triphala extract was performed into 2 formulas: formula 1 consisted of PE, TB and TC in the ratio of 3:2:1; and in formula 2, the ratio was 1:1:1. Antioxidative and antityrosinase tests of the formula showed that the formula 1 was more active than the other. The contents of gallic acid of formula 1 and 2 were 9.86% and 8.43%, respectively. Triphala cream formulations were prepared at four different concentrations (0.05%; 0.1%; 0.2%; 0.5%) by hot and cold methods. The result showed that the Triphala cream formula 1 at the concentration of 0.2% was the most potent formulation in terms of antioxidant activity and can develop to be a cream moisturizer. |
. |