การศึกษาคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรรางจืด |
โดย: นางสาวเมธาวี พุ่มเพ็ชร์,นางสาวรัตน์สุดา จรดล ปีการศึกษา: 2555 กลุ่มที่: 26 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยนุช โรจน์สง่า , ปองทิพย์ สิทธิสาร , มนตรี ยะสาวงษ์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี Keyword: รางจืด, การควบคุมคุณภาพ, ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ, Thunbergia laurifolia Linn., Rang Jurd, quality control, DNA fingerprint |
บทคัดย่อ: รางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง สรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย ใช้ใบสดคั้นน้ำรับประทานแก้ไข้ และถอนพิษ ดังนั้นการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบใบรางจืดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จากใบรางจืดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพโดยวิธี macroscopy และ microscopy ของตัวอย่างใบรางจืดจาก 10 แหล่ง พบว่าใบรางจืดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า ลักษณะผงยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบส่วนที่สำคัญของใบ ได้แก่ stomata, epidermis, palisade cells, spongy cells, vascular bundle, tracheid, vessel เป็นต้น จากการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมี โดยใช้วิธี Thin-layer chromatography (TLC) พบว่า TLC fingerprint ของใบรางจืดทั้ง 10 แหล่งมีแถบสารที่ตรงกับสารมาตรฐาน caffeic acid โดยลักษณะทางกายภาพและทางเคมีมีความคล้ายคลึงกับ authentic sample นอกจากนี้ได้พัฒนาการสร้าง DNA fingerprint ด้วยเทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของใบรางจืดได้อีกด้วย |
abstract: Thunbergia laurifolia Linn. or Rang Jurd (RJ) is a Thai herbal medicine in Acanthaceae family, which has been traditionally used for treatments of fever, inflammation as well as antidote for detoxification of poison. Therefore, the quality control is important to establish the specification of products. The macroscopic and microscopic characters of Thunbergia laurifolia ‘s leaves collected from 10 sources were examined. The leaves were oblong or ovate shape, acuminate end, obtuse base and opposite simple leaf. The microscopic characters of the powdered drugs were stomata, epidermis, palisade cells, spongy cells, vascular bundle, tracheid and vessel. Analysis of the extracts by thin-layer chromatography (TLC) revealed phenolic compounds corresponding to caffeic acid. Macroscopic, microscopic characters and TLC profiles of all samples were similar to the characters of authentic sample. Furthermore, DNA fingerprint by Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) technique was performed which could be used for identification of Thunbergia laurifolia leaf. |
. |