แชมพูสมุนไพรขจัดรังแค

โดย: น.ส.เกศิณี เลิศแสงสุวรรณ, น.ส.วิภาวี รอดจันทร์    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 26

อาจารย์ที่ปรึกษา: แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: แชมพูขจัดรังแค, แชมพูสมุนไพร, รังแค, Malassezia furfur, น้ำมันตะไคร้, antidandruff shampoo, herbal shampoo, dandruff, Malassezia furfur, Lemongrass oil
บทคัดย่อ:
ในการทดลองนี้ได้มีการคัดเลือกสมุนไพรที่คาดว่าจะมีฤทธิ์ในการต้านราที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดรังแคบนหนังศีรษะ (Malassezia furfur) ซึ่งได้แก่ สารสกัดจากเหง้าขมิ้นชัน ใบชุมเห็ดเทศ เปลือกมังคุด และตะไคร้ สารสกัดเหล่านี้ได้จากการสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 80% และนำไประเหยตัวทำละลายออก นอกจากนี้ยังมีน้ำตะไคร้ และน้ำมันขมิ้น ที่ได้จากการกลั่นด้วยน้ำ เมื่อนำสารเหล่านี้มาตรวจสอบสารสำคัญ ด้วยวิธีโครมาโกราฟีแบบแผ่นบาง เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานที่มีรายงานว่า สามารถออกฤทธิ์ต้านจุลชีพต่างๆได้ พบว่าสารสกัดหยาบต่างๆ และน้ำมันหอมระเหยที่นำมาทดสอบมีส่วนประกอบเป็นสารหลายชนิด และสารส่วนใหญ่ที่พบจะมีค่าอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับ(Rf) ตรงกับสารมาตรฐาน จากนั้นทำการคัดเลือกหาสารสกัดสมุนไพรหรือน้ำมันหอมระเหย ที่มีฤทธิ์ในการต้าน M.furfur ได้ดี โดยใช้วิธี Agar Disc Diffusion เปรียบเทียบกับยาต้านรา ตีโตโคนาโซล พบว่ามีเพียงน้ำมันตะไคร้เท่านั้นที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งรา M.furfur ส่วนสารสกัดอื่นๆ ในปริมาณที่เท่ากัน ไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งราชนิดนี้ ในการทดลองขั้นต่อมา เป็นการหาความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งราชนิดนี้ได้ โดยใช้วิธี Broth dilution เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการตั้งเป็นสูตรแชมพู จากผลการทดลองพบว่าค่าความเข้มข้นน้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งรานี้ได้มีค่าเท่ากับ 31.25 ไมโครลิตร/มิลลิลิตร ซึ่งในการพัฒนาตำรับแชมพู ได้ตั้งตำรับให้มีความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้ที่มีความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่ 3.15%, 6.25%, 12.5%, 25% และ 30% โดยน้ำหนักแล้ว นำไปทดสอบความสามารถในการยับยั้งรา พบว่าแชมพูทุกตำรับสามารถยับยั้งเชื้อราได้ และสังเกตความคงตัวของตำรับแชมพู เมื่อนำไปเก็บในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 45° C เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าทุกตำรับมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสีและกลิ่น ส่วนแชมพูตำรับที่ยังมีความคงตัวดี ไม่เกิดการแยกชั้น ได้แก่ ตำรับที่มีน้ำตะไคร้ 25% และ 30% โดยน้ำหนัก จากผลการทดลองสรุปได้ว่าน้ำมันตะไคร้เมื่อนำมาผสมเป็นตำรับแชมพูแล้ว จะยังคงมีฤทธิ์ดีในการต้านรา M.furfur แต่ยังคงมีปัญหาด้านความคงตัวของตำรับแชมพู จึงต้องมีการพัฒนาตำรับแชมพูที่มีความคงตัวได้ดีต่อไป
abstract:
This experiment selected 4 Thai herbs estimated from their abilities to inhibit fungi causing dandruff (Malassezia furfur). These plants were turmeric, ringworm bush, mangosteen, and lemongrass. These plants were extracted with 80% ethanol. After ethanol was evaporated, the crude ethanolic extracts were obtained. Furthermore, lemongrass oil and turmeric oil extracted by hydrodistillation were also used. The major chemical constituents in each crude extract and volatile oil were investigated by Thin layer chromatography for their Rf values compared with reference standards i.e. curcumin, rhein, alpha-mangostin and citral. Each extract was examined for its inhibitory activity against M. furfur using agar disc diffusion method. The results showed that only lemongrass oil had ability to inhibit M. furfur. Then, the minimal inhibitory concentration (MIC) that could inhibit M. furfur of lemongrass oil was determined by broth dilution method. The results showed that the MIC of lemongrass oil was 31.25 μl/ml. To formulate herbal shampoo, various concentrations of lemongrass oil i.e. 3.15%, 6.25%, 12.5%, 25% and 30% w/w were separately incorporated into a shampoo base. Then, the ability to inhibit M. furfur of the shampoo preparations was observed. The results showed that every shampoo formula still could promote inhibitory activity against M. furfur . The stability of each shampoo was determined when it was being kept at temperature 45° C for 3 weeks. The results showed that every shampoo formula changed in color and odor from the beginning. But the shampoo formula containing 25% and 30% w/w of lemongrass oil showed the most stability. Thus, lemongrass oil shampoo should be the appropriate preparation to inhibit M. furfur. However, the formula was needed to be further developed for a better stability.
.