การพัฒนาแผ่นเยื่อบาง chitosan ชนิดต่างๆเพื่อเพิ่มความสามารถในการเกาะจับกับ mucous membrane |
โดย: ยุทธพงษ์ อุดมมหศิลป์, รักพงศ์ ประพันธ์ ปีการศึกษา: 2547 กลุ่มที่: 26 อาจารย์ที่ปรึกษา: กอบธัม สถิรกุล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: แผ่นเยื่อบาง chitosan, การเกาะติดกับเนื้อเยื่อ, chitosan whisker, chitosan membrane, work of adhesion, chitosan whisker |
บทคัดย่อ: รูปแบบผลิตภัณฑ์แบบแผ่นเยื่อบางที่ใช้แปะติดกับกระพุ้งแก้มด้านในเพื่อนําส่งยาเป็นรูปแบบที่สําคัญซึ่งใช้ในการออกฤทธิ์เฉพาะที่รวมถึงการออกฤทธิ์กว้างโดยการดูดซึมเข้ากระแสเลือด วิธีนี้จะช่วยลด first pass metabolismและช่วยเพิ่มการดูดซึมของยา จึงมีการคิดค้นพัฒนาสารที่จะนํามาทําแผ่นเยื่อบางกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ chitosan ซึ่งเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติมีโครงสร้างเป็น mucopolysacharide พบได้ในสัตว์ทะเลพวก Crustacean สามารถนํามาทําเป็น แผ่นเยื่อบางช่วยในการนําส่งยา chitosan เมื่ออยู่ ในสารละลายที่เป็นกรดจะมีประจุบวกและเนื้อเยื่อในสภาวะปกติมีประจุลบ ทําให้มีความสามารถในการยึดติดกับเนื้อเยื่อได้ดีซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการนําส่งยาเข้าสู่ร่างกายของรูปแบบผลิตภัณฑ์แบบแผ่นเยื่อบาง ยิ่งมีระยะเวลาในการเกาะติดนานขึ้นก็จะส่งผลถึงการซึม ผ่านของยาออกจากแผ่ นเยื่อบางได้ปริมาณมากขึ้นด้วยการศึ กษาครั้ งนี้เป็ นการทดสอบวั ดความสามารถในการเกาะติดของแผ่นเยื่อบางที่ทําจาก chitosan ชนิด ต่างๆที่ความเข้มข้นต่างๆกัน โดยใช้เครื่อง texture analyzer ในการวิเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบผลต่อการเกาะติดกับเนื้อเยื่อการศึกษาครั้งนี้ ใช้เนื้ อเยื่อกระพุ้ง แก้มหมูเป็นแบบจําลองและนอกจากนี้ยังมี การผสมchitin whisker (nano fiber) เพื่อเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเกาะติดอีกด้วย จากผลการศึกษาครั้งนี้ได้ผล ว่าสภาวะที่ให้การเกาะติดดีที่สุดนั้นใช้แรงในการแปะ 2 N ใช้เวลาในการแปะ60 วินาที และ chitosanให้การเกาะติ ดกับเนื้อเยื่อที่ดี เมื่อเปรียบเทียบ chitosan ที่ได้จากปูกับchitosan ที่ได้จากปลาหมึกแล้วพบว่ามีความสามารถในการเกาะติดแตกต่างกัน |
abstract: The membrane as a drug delivery system via buccal route is one of the major preparation aiming for both local and systemic action.This method will decrease first pass metabolism and enhance drug absorption. Chitosan is natural product, derived from Crustacean shell. Its structure is mucopolysacharide. It can be made as membrane to improve drug delivery system. The mainly part of chitosan can change to cationic form in acid solution. In the meanwhile, normally mucous membrane has negative charge, so that there are charge attraction and adhesive force between them. The more time attach, the more drug is absorped. The membranes produced from different types and various concentrations were evaluated for their mucoadhesive property, on pocrine buccal tissue model. In addition, chitosan membrane is modified by combining with chitin whisker (nano fiber) to increase work of adhesion.Conclusion of this study, the best condition that can produce maximum work of adhesion are attach force 2 N, attach time 60 s Chitosan membranes demonstrated a promising mucoadhesive to buccal cavity. Crab and squid chitosans are different in mucoadhesive property. |
. |