การใช้ไคโตแซนในการพัฒนายาเม็ดมาทริกซ์ออกฤทธิ์นานธีโอฟิลลิน

โดย: กอบัว ทัศนภักดิ์,นันทนา ไกรแสง    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 26

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ยาเม็ดทีโอฟิลลิน, Theophylline tablets
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาการใช้ไคโตแซนในการควบคุมการปลดปล่อยยาทีโอฟิลลิน โดยเตรียมแกรนูลของยาทีโอฟิลลินด้วยสารละลายไคโตแซน 1.0 w/w ในกรดมาลิก และ/หรือ สารละลายโซเดียมอัลจิเนตในน้ำแล้วนำมาผสมกับสารช่วยตอกโดยตรง ได้แก่ Spray dried lactose (Tablettose®) Microcrystalline cellulose (Avicel®), Diabasic calcium phosphase(Emcompress®) เพื่อเตรียมเป็นยาเม็ดที่มีขนาดยาทีโอฟิลลิน 200 มิลลิกรัม ปริมาณไคโตแซนและโซเดียมอัลจิเนตคิดเป็นอัตราส่วนเท่ากับ 1.0:0 mg/tab, 0.5mg:0.5 mg/tab และ 0:1.0 mg/tab ตามลำดับ ในตำรับยาเม็ดที่ใช้ Tablettose ®พบว่าตำรับที่ใช้ไคโตแซนปลดปล่อยตัวยาช้ากว่าตำรับอื่นๆ ในตำรับยาที่ใช้ Avicel®ทุกตำรับปลดปล่อยตัวยาเร็วไม่แตกต่างกัน ส่วนตำรับที่ใช้ Emcompress® ในตำรับที่ใช้ไคโตแซน (1.0 mg/tab) และไคโตแซนร่วมกับโซเดียมอัลจิเนต (0.5mg:0.5 mg/tab) การปลดปล่อยยาใกล้เคียงกัน และปลดปล่อยยาช้ากว่าตำรับที่ใช้โซเดียม อัลจิเนตอย่างเดียว เมื่อเปรียบเทียบสารช่วยตอกโดยตรง 3 ชนิดพบว่าตำรับยาเม็ดที่ใช้ Emcompress® ปลดปล่อยตัวยาช้าที่สุดและไคโตแซนในระดับความเข้มข้น 1.0 mg/tab สามารถลดการปลดปล่อยตัวยาได้มากกว่าเมื่อใช้ร่วมกับโซเดียมอัลจิเนตหรือใช้โซเดียมอัลจิเนตอย่างเดีย
abstract:
Use of chitosan to control release of theophylline from tablets was studied. Theophylline granules were prepared using chitosan solution in malic acid and/or sodium alginate solution in water. The theophylline granules were formulated with direct compression fillers such as spray dried lactose (Tablettose)®, microcrystalline cellulose (Avicel®) and dibasic calcium phosphate (Emcompress®) to prepare 200 mg theophylline tablets. The proportion of chitosan and sodium alginate in the tablet calculated as dry basis were 1.0:0, 0.5:0.5 and 0:1.0 mg, respectively. In case of Tablettose®-based tablet, the formulation containing chitosan showed slowest release property. All formulations of Avicel®-based tablets exhibited fast release profiles which were comparable to that of control tablet. In Emcompress®-based tablets, the formulation containing chitosan (1mg/tab) showed comparable release patterns with those containing and sodium alginate (0.5mg:0.5mg/tab). The results revealed that the Emcompress®-based tablets had a slowest release rate. Furthermore, using chitosan of amount of 1.0 mg/tab could decrease the release of theophylline from tablets more than using chitosan with sodium alginate or sodium alginate alone.
.