การศึกษาพฤกษเคมีของสารต้านเชื้อเอชไอวี

โดย: กุลธิดา พันธุ์อไร,กุลวรา ปรางทอง    ปีการศึกษา: 2542    กลุ่มที่: 26

อาจารย์ที่ปรึกษา: วีณา จิรัจฉริยากูล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้ทำขึ้นเพื่อรวบรวมรายชื่อพืชที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อ เอช ไอ วี ได้แก่ คุณสมบัติยับยั้ง virus adsorption, คุณสมบัติยับยั้ง virus-cell fusion, คุณสมบัติยับยั้ง reverse transcription, คุณสมบัติยับยั้ง integration, คุณสมบัติยับยั้ง translation, คุณสมบัติยับยั้ง proteolytic cleavage, คุณสมบัติยับยั้ง assembly/release โดยอาศัยแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ในการสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995-1999 คือ Journal of Natural products, Planta Medica, Phytochemistry, Chemical and Pharmaceutical Bulletin สามารถรวบรวมรายชื่อพืชที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อ เอช ไอวี ได้ทั้งสิ้น 126 ต้น, ทำการคัดเลือกพืชไทยที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนคุณสมบัติต้านเชื้อเอช ไอ วี และทราบสารสำคัญดังกล่าว จำนวน 10 ต้น ได้แก่ มะระขี้นก (Momordica charantia Linn.), พลูคาว (Houttuynia cordata Thunb.), ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.)Nees), ชะเอมจีน (Glycyrrhiza uralensis Fisch.), ถั่วเหลือง (Glycine max Merr), ขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn.), ละหุ่ง (Ricinus communis Linn.), พญาสัตตบรรณ (Alstonia scholaris R.Br.), เก็กฮวย (Chrysanthemum morifolium Ramat), สมอพิเภก (Terminalia belerica Roxb.) และคัดเลือกพืชไทยมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นจำนวน 2 ต้น ได้แก่ (1) ขมิ้นชัน มีสารสำคัญ คือ curcumin ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุล 368.39 Da โดยทำ thin-layer chromatography เปรียบเทียบกับ authentic curcumin และ (2) มะระขี้นก ทำการสกัดโปรตีนจากเมล็ดซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุล 29-30 kDa วิธีสกัดมีดังนี้ นำเมล็ดผสมกับน้ำเกลือ นำไปปั่น และปรับ pH ด้วยกรดเกลือ และกรอง ทำโปรตีนให้บริสุทธิ์ด้วยการตกตะกอนโปรตีนด้วย 30-60 % น้ำยาแอมโมเนียมซัลเฟต จากนั้นนำตะกอนโปรตีนไปละลายใน ฟอสเฟต บัฟเฟอร์ และทำการ dialysis นำสารละลายที่ได้ไปทำเป็นผงแห้ง (freeze dried powder) ผงโปรตีนที่ได้สามารถวัดปริมาณโปรตีนด้วยวิธี Bradford’s method และตรวจสอบโปรตีนด้วย SDS-PAGE ในการทดลองนี้ได้ทำการตรวจสอบโปรตีนที่สกัดได้ด้วย Gel-filtration Chromatography
abstract:
This special project aims at gathering lists of anti-HIV plants which have the qualifications of inhibiting different stages of human immunodeficiency virus (HIV), viz virus adsorption, virus-cell fusion, reverse transcription, integration,translation, proteolytic cleavage, glycosylation and assembly/release. The lists are complied from Journal of Natural Products, Planta Medica, Chemical and Pharmaceutical Bulletin and Phytochemistry dated from 1995-1999. There are 126 plants qualified and the project researchers select 10 Thai plants, Mormodica charantia Linn., Houttuynia cordata Thunb., Andrographis paniculata (Burm.f.)Nees, Glycyrrhiza uralensis Fisch., Glycine max Merr, Curcuma longa Linn., Ricinus communis Linn., Alstonia scholaris R.Br., Chrysanthemum morifolium Ramat., Terminalia belerica Roxb., having scientific evidences substantiate. After that have conducted the study of primary chemical compounds of 2 Thai plants. The first is Curcuma longa Linn which has curcumin as an active compound with molecular weight 368.39 Da. For identify using thin-layer chromatography (TLC) method and compare the derived substance with authentic curcumin. The second is Mormodica charantia Linn., the researchers extracts protein with molecular weight of 29-30 kDa. from the seeds. To extract protein the normal saline is added to the endosperm and homogenized together. The pH emulsion is adjusted to 3.6 using 6 N HCl and filtered. Subsequently, the protein extract is purified by precipitation with 30-60% ammonium sulfate .The precipitate is dissolved in phosphate buffer, then dialysed and freeze dried. The lyophilized protein is assayed for protein content using Bradford’s method and identified on SDS-PAGE. In addition, the protein is identified using gel-filtration chromatography.
.