การขยายพันธุ์เพชรสังฆาตด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ |
โดย: นางสาวกนกพรรณ บุรีแก้ว, นายจิรพัฒน์ ลิ้มธโนปจัย ปีการศึกษา: 2559 กลุ่มที่: 25 อาจารย์ที่ปรึกษา: ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ , เบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ Keyword: เพชรสังฆาต, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, การชักนาให้เกิดยอด, การชักนาให้เกิดแคลลัส, Cissus quadrangularis L., micropropagation, shoot induction, callus induction |
บทคัดย่อ: เพชรสังฆาต (Cissus quadrangularis L.) เป็นพืชสมุนไพรที่มีความสาคัญทางการแพทย์ แต่สมุนไพรชนิดนี้เป็นพืชที่โตช้า ประกอบกับปัจจุบันมีการใช้มากขึ้น ทาให้อาจผลิตได้ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการในอนาคต งานวิจัยนี้จึงได้หาวิธีขยายพันธุ์เพชรสังฆาตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ด้วยการชักนาให้เกิดยอดและแคลลัส สาหรับการชักนาให้เกิดยอด ได้ใช้ข้อ (node) เป็น explant จากนั้นนาไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) medium ที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชชนิดต่างๆ (Thidiazuron; TDZ 0.5, 1.0, 2.0 mg/L และ 2,4-dichlorophenoxy acetic acid; 2,4-D 1.0, 2.0, 4.0 mg/L ซึ่งผลการทดลองที่ดีที่สุดได้จากการใช้ TDZ 1.0 mg/L ในขณะที่การชักนาให้เกิดแคลลัส ได้ใช้ปล้อง (internode) เป็น explant และนาไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชชนิดเดี่ยว (1-naphthaleneacetic acid; NAA 1.0, 2.0, 4.0 mg/L) และชนิดผสม (NAA 2.0 mg/L ร่วมกับ Kinetin; KN 0.5 mg/L หรือ 6-benzylaminopurine; BAP 0.125, 0.25, 0.50 mg/L) สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่ให้ผลดีที่สุดคือ NAA 2.0 mg/L ร่วมกับ BAP 0.50 mg/L จากที่กล่าวมาข้างต้น งานวิจัยนี้ถือเป็นการทดลองเบื้องต้นที่สามารถเป็นแนวทางสาหรับนาไปพัฒนาต่อยอด เพื่อเป็นต้นแบบในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพชรสังฆาต โดยใช้วิธีชักนาให้เกิดยอดและแคลลัส และนาไปสู่การใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเพชรสังฆาต รวมถึงรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยาที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต |
abstract: Cissus quadrangularis L. is an important medicinal plant. Although, its demand is increasing, its supply from a farmer is limited due to its slow growth rate. Hence, this research aims to use in vitro propagation technique for shoot and callus induction of Cissus quadrangularis. For shoot induction, a nodal explant was cultured on Murashige and Skoog (MS) medium supplemented with the plant growth regulators, Thidiazuron (TDZ) 0.5, 1.0, 2.0 mg/L or 2,4-dichlorophenoxy acetic acid (2,4-D) 1.0, 2.0, 4.0 mg/L. The best result of shoot induction was achieved on MS medium supplemented with TDZ 1.0 mg/L. Callus induction was achieved by culturing an internodal explant on MS medium supplemented with plant growth regulators, 1-naphthaleneacetic acid (NAA) 1.0, 2.0, 4.0 mg/L alone or in a combination with Kinetin (KN) 0.5 mg/L or 6-benzylaminopurine (BAP) 0.125, 0.25, 0.50 mg/L. The best result of callus induction was found in a group treated with NAA 2.0 mg/L combination with BAP 0.5 mg/L. Therefore, the present investigation can be used as a preliminary study to develope the scaling up protocol for the pharmaceutical industry. |
. |