การศึกษาฤทธิ์ของซิริซิน (สารสกัดโปรตีนไหม)ต่อการเจริญของเซลล์ในหลอดทดลอง

โดย: จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์, ณัฐกานต์ กิจตรงศิริ    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 25

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ , ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี , วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ซิริซิน, โปรตีนไหม, ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง, ฤทธิ์ปกป้องเซลล์, Sericin, Silk protein, Anticancer, Cytoprotective
บทคัดย่อ:
การศึกษาฤทธิ์ของซิริซิน (สารสกัดโปรตีนไหม) ต่อการเจริญของเซลล์ในหลอดทดลองเป็นโครงการพิเศษที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง และการปกป้องเซลล์ของซิริซิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาฤทธิ์ต้านการเจริญของ Breast cancer cell line (SK-BR-3) เปรียบเทียบกับสาร quercetin โดยเติมซิริซินหรือ quercetin ความเข้มข้น 7.8 ,15.6 , 31.3 , 62.5 , 125.0 , 250.0 , 500.0 , 1000.0 ?g/ml ลงใน SK-BR-3 หลังจากเพาะเลี้ยงเซลล์ 48 ชั่วโมง ประเมินการรอดชีวิตเซลล์โดย MTT Assay พบว่า เซลล์ที่เติมซิริซินทุกความเข้มข้นสามารถเจริญได้ตามปกติ ซึ่งแตกต่างจากเซลล์ที่เติม quercetin มีจํานวนลดลงตามความเข้มข้นของ quercetin ที่เพิ่มขึ้นตามลําดับ ส่วนที่ 2 การศึกษาฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ SK-BR-3 และ Endothelial cell line (ECV) ของ ซิริซิน โดยเติม ซิริซิน ลงใน SK-BR-3 และ ECV หลังจากเพาะเลี้ยง 24 ชั่วโมง ความเข้มข้น 0 , 500 , 1000 , 2000 , 4000 , 8000 ?g/ml เปรียบเทียบกับ d-?-Tocopheral acetate (วิตามินอี) ความเข้มข้น 5 , 25 , 50 ?M จากนั้นเลี้ยงเซลล์ 6 ชั่วโมง เติมสารเหนี่ยวนําให้เกิด oxidative stress (ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์) ความเข้มข้น 20 mM สําหรับ SK-BR-3 และ 10 mM สําหรับ ECV เลี้ยงเซลล์ต่อเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทําการประเมินการรอดชีวิตของเซลล์โดย MTT Assay พบว่าการรอดชีวิตของเซลล์ SK-BR-3 และ ECV เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของซิริซินและวิตามินอี จากการศึกษานี้สรุปว่าซิริซินไม่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งแต่มีแนวโน้มสามารถปกป้องเซลล์จากภาวะ oxidative stress ได้
abstract:
This study was conducted to assess anticancer and cytoprotective effect of silk protein , sericin , on cultured cell line. Part 1, anticancer effect of sericin compared to quercetin : sericin or quercetin was applied to cell at concentration of 7.8 ,15.6 , 31.3 , 62.5 , 125.0 , 250.0 , 500.0 and 1000.0 ?g/ml. After 48-h incubation , viability of cultured cells was determined by MTT assay. The result showed that sericin had no anticancer effect while quercetin consequently reduced viability of cultured cells. Part 2 , cytoprotective effect : SK-BR-3 or Endothelial cell line (ECV) was preincubated with sericin (0 , 500 , 1000 , 2000 , 4000 , 8000 ?g/ml) and d-?-Tocopheral acetate (Vitamin E) (5 , 25 , 50 ?M) for 6 hours. After the preincubation period, 20 mM and 10 mM hydrogen peroxide (inducing oxidative stress substance) were added to SK-BR-3 and ECV, respectively and incubated for 1 hour, following by MTT assay to determine the viability of cultured cells. The result exhibited that viabilities of SK-BR-3 and ECV were consequently increased. These results imply that sericin has no effect on cell proliferation but tends to possess protective effect from oxidative stress.
.