การใช้ไคโตแซนในการพัฒนายาเม็ดออกฤทธิ์นานธีโอฟิลีน

โดย: มนตรี ทีสมพงษ์,หลักชัย สุมะนัสชัย    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 25

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: โปแตสเซียมคลอไรด์, ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน, potassium chloride, sustained release
บทคัดย่อ:
โปแตสเซียมคลอไรด์เป็นยาสำหรับบำบัดภาวะที่ร่างกายขาดโปแตสเซียม คลอไรด์ การได้รับโปแตสเซียมคลอไรด์ในปริมาณมากทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงดังกล่าว จึงควบคุมการปลดปล่อยยาโปแตสเซียมคลอไรด์ในทางเดินอาหารโดยเตรียมในรูปยาเม็ดมาทริกซ์ออกฤทธิ์นาน สารก่อมาทริกซ์ที่เลือกใช้ คือ ethylcellulose (Ethocel(trademark) และ stearyl alcohol จากการทดลองพบว่ายาเม็ดที่เตรียมโดยใช้ ethylcellulose เป็นสารก่อมาทริกซ์โดยวิธีเตรียมแกรนูลเปียกทุกตำรับเป็นยาเม็ดมาทริกซ์ที่แตกตัว ในขณะที่ตำรับซึ่งเตรียมโดยใช้ stearyl alcohol เป็นสารก่อมาทริกซ์ที่ทุกอัตราส่วนของตัวยาต่อสารก่อมาทริกซ์ (750:100, 750:150, 750:200, 750:250) เป็นยาเม็ดมาทริกซ์ที่ไม่แตกตัวดังนั้นเราจึงเลือกใช้ stearyl alcohol เป็นสารก่อมาทริกซ์ในการพัฒนาตำรับต่อไป จากการศึกษาการละลายของยาเม็ดมาทริกซ์ที่เตรียมโดยใช้ stearyl alcohol เป็นสารก่อมาทริกซ์ โดยวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ที่ปลดปล่อยออกมาด้วยวิธีไตเตรทชั่นพบว่า เมื่อปริมาณ stearyl alcohol เพิ่มขึ้น การปลดปล่อยของตัวยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ตำรับที่มีอัตราส่วนของตัวยาต่อ stearyl alcohol เป็น 750:200 และ 750:250 ปลดปล่อยตัวยาผ่านข้อกำหนดการละลายของเภสัชตำรับอังกฤษ (BP 1998) และเฉพาะตำรับที่มีอัตราส่วนของตัวยาต่อ stearyl alcohol เป็น 750:250 เท่านั้นที่ปลดปล่อยตัวยาผ่านทั้งข้อกำหนดของเภสัชตำรับอังกฤษ (BP 1998) และเภสัชตำรับอเมริกา (USP 24) เนื่องจากโปแตสเซียมคลอไรด์เป็นตัวยาที่ดูดความชื้นได้ดี ดังนั้นจึงมีการนำยาเม็ด มาทริกซ์โปแตสเซียมคลอไรด์ซึ่งมีคุณสมบัติการปลดปล่อยยาตามข้อกำหนดของเภสัชตำรับอังกฤษมาเคลือบป้องกันความชื้นโดยใช้ hydroxypropyl methylcellulose เป็นสารก่อฟิล์ม จากการทดลองการละลายพบว่าการปลดปล่อยตัวยาของตำรับที่เคลือบฟิล์มและไม่เคลือบฟิล์มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าจลนศาสตร์ของการปลดปล่อยตัวยาเป็นไปตาม Higuchi model
abstract:
Potassium chloride is a drug used for the treatment of potassium deficiency. However, oral potassium supplementation has been associated with a disturbing incidence of gastrointestinal side effects. To solve this problem, potassium chloride sustained release matrix tablet formulations were developed. In this study, ethylcellulose (Ethocel(trademark)) and stearyl alcohol were chosen to be matrix formers. The data demonstrated that the matrix tablets using ethylcellulose as a matrix formers were disintegrated matrix tablets whereas those using stearyl alcohol at all ratios of drug to polymer (750:100, 750:150 ,750:200, 750:250) were non-disintegrated matrix tablets. From these results, stearyl alcohol was chosen to be the matrix former for further development of sustained release formulation. The dissolution of the matrix tablets containing stearyl alcohol which was determined as released amount of chloride ion using titration method indicated that increasing polymer content caused a decrease in drug release significantly. Dissolution of the formulations at the drug to polymer ratio of 750:200 and 750:250 conformed to the acceptance criteria of BP 1998 and only the tablet containing 750:250 ratio of drug to polymer conformed to the acceptance criteria of both BP 1998 and USP 24. Due to the hygroscopicity of potassium chloride, the potassium chloride matrix tablet which conformed to the acceptance criteria of BP 1998 was coated with hydroxypropyl methylcellulose. It was further found that there was no significant difference between the two release profiles of the coated and the uncoated formulations and their release kinetics followed Higuchi model
.