การตรวจหาปริมาณอัลคาลอยด์ในหัวและเนื้อเยื่อดองดึงหัวขวาน

โดย: กิตติชัย เตชะโรจนฤทธิ์,ปัญจภัทร โสจิกุล    ปีการศึกษา: 2537    กลุ่มที่: 24

อาจารย์ที่ปรึกษา: พรรนิภา ชุมศรี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
ดองดึง (Gloriosa superba Linn.) เป็นไม้เลื้อยล้มลุก พบอัลคาลอยด์ทีสำคัญคือ โคลชิซีน(colchicine) มีประโยชน์งการแพทย์ ใช้บำบัดรักษาโรคเกาท์ชนิดเฉียบพลัน จึงนำมาทดลองเพาะเลี้ยงในสูตรอาหาร 3 กลุ่ม โดยทุกกลุ่มเพาะเลี้ยงเปรียบเทียบในภาชนะที่ต่างกันคือ ฟลาส กับขวดแก้ว กลุ่ม ก คือ (1) RTY3 (2) Modified MS-Y3[MSY3] (3) Modified MS-Y3-Gamborg [MSY3-G] กลุ่ม ข ชนิดฮอร์โมนพืชในสูตรอาหาร RTY3 คือ (1) N4B4 (2) N2I2B4 (3) N2K2B4 (4) N2B4 absososio acid กลุ่ม ค ระดับความเป็นกรดด่างของ RTY3 ดังต่อไปนี้ (1) pH 2.8 (2) pH 3.8 (3) pH 4.8 (4) pH 5.8 วัดการเจริญเติบโตโดยชั่งน้ำหนักส่วนต่างๆได้แก่ ลำต้น หัว และรากทดสอบอัลคาลอยด์โดยใช้ Dragendorff"s reagent ตรวจหาโทรโปรโลนอัลคาลอยด์โดยใช้ TLC ดูการเกิดสีต่อDragendorff"s reagent และวิเคราะห์ปริมาณโคลซิซิน โดยใช้ HPLC และ เอทิลพาราเบนเป็นสารมาตรฐานเปรียบเทียบภายใน จากการทดลองพบว่า การเพาะเลี้ยงใน ฟลาส เจริญเติบโตได้ดีแว่ในขวดแก้ว เมื่อเปรียบเทียบสูตรอาหารกลุ่ม ก พบว่าลำต้น (68.3 กรัม) และหัว (3.1 กรัม) เจริญได้ดีในอาหารสูตร RTY3 และส่วนหัวให้ปริมาณโคลซิซีนสูงสุด 0.4 เปอร์เซนโดยน้ำหนักแห้ง ส่วนรากเจริญได้ดีในสูตรอาหาร MSTY3-G ให้น้ำหนัก 40.4 กรัม เมื่อเปรียบเทียบผลของกลุ่ม ข พบว่าส่วนหัวเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในสูตรอาหาร RTY3 (N2I2B4) ให้น้ำหนัก 4.1กรัม ส่วนลำต้นและรากเจริญได้ดีในอาหาร RTY3 (N4B4) ให้น้ำหนัก 68.3 และ12.4 กรัมตามลำดับ และคึกษาเปรียบเทียบสภาวะความเป็นกรด-ด่างของอาหารสูตร RTY3 ในกลุ่ม ค พบว่าที่ ph 2.8 ไม่สามารถเจรืญได้ แต่เจริญได้ดีในสูตร อาหาร ซึ่งกระตุ้รด้วย ph 3.8 ก่อนนำไปเพาะเลี้ยงใน ph 4.8 แต่ส่วนหัวให้ปริมาณโคลซิซีนสูง 0.4 เปอร์เซนโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อเลี้ยงใน ph 5.8 การเพะเลี้ยงเนื้อเยื่อดองดึงในสูตรอาหารทั้ง 3 กลุ่มพบว่า อาหารสูตร RTY3 (N2I2B4) ph 5.8 ให้น้ำหนักหัวและปริมาณโคลซิซีน ในผลรวมสูงหว่า RTY3 (N4B4) ph 5.8 ซึ่งให้ปริมาณโคลซิซีนสูงสุด
abstract:
Gloriosa superba Linn. is a climbing herbaceous plant. The main alkaloid is colchicine which has the medical value in treatment of acute gout. The plant was in vitro cultivated in 3 different conditions of culture media. The comparison study was done by mainain the cultures in 2 types of container, such as flask and bottle. Group A was compared among culture medium formulae. That were (1) RTY3 (2) MSY3 (3) MSY3-G. Group B was studied the effect of phytohormone levels, (1) N4B4 (2) N2I2B4 (3) N2K2B4 (4) N2B4ABA, in RTY3 medium. Group C was studied the effect of pH, (1) pH 2.8 (2) pH 3.8 (3) pH 4.8 (4) pH 5.8, in RTY3. The growth rate of Gloriosa superba Linn. was measured by weighing of stem, corm and root. The alkaloid dtection was done by using Dragendorff"s reagent and separated the tropolone alkaloid by TLC with Dragendorff"s spray reagent. The content of colchicine determined by HPLC and used ethyl paraben as internal standard. The result showed that the growth of Gloriosa superba Linn. cultured in flasks were better than in bottles. In term of culture medium, stem and corm propagated fastly (68.3 and 3.1 g) and corm produced the highest amount of colchicine (0.4% dw) in RTY3 where as root showned the highest propagation in MSY3-G (40.4 g). The result from treatment in group B, part of corm was shown the best growth in RTY3 plus N2I2B4 (4.1 g) but stem (68.3 g) and root (12.4 g) were best in RTY3 plus N4B4. The result from pH treatments of RTY3 found at pH 2.8, Gloriosa superba Linn. could not survive, but appeared to propagate well if pretreated the culture in medium at pH 3.8 and then transferred to medium at pH 4.8. However, the highest colchicine content in corm was found when cultured in medium at pH 5.8. In conclusion, the in vitro culture of Gloriosa superba Linn. in RTY3 (N2I2B4) at pH 5.8, produced the highest yield of corm and colchicine, which in total was better than cultured in RTY3 (N4B4) at pH 5.8.
.