การพัฒนาวิธีการตรวจสอบตัวบ่งชี้ทางเคมี ในครีมสารสกัดลูกประคบสมุนไพร

โดย: นางสาวญาณิสร เรียบร้อยเจริญ, นางสาวอรอนงค์ ธนนิลกุล    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 23

อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , อัญชลี จินตพัฒนกิจ , นิศารัตน์ ศิริวัฒนาเมธานนท์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ครีมสารสกัดลูกประคบสมุนไพร, Thin-layer Chromatography, Curcumin, ขมิ้นชัน, ไพล , Topical cream of herbal compress extract, Thin-layer Chromatography, Curcumin, Turmeric, Zingiber cassumunar
บทคัดย่อ:
ลูกประคบสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย อาการบวม เคล็ดขัดยอก ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่ทันสมัย สะดวกในการพกพาและการนาไปใช้งาน จึงมีการพัฒนารูปแบบลูกประคบเป็นรูปแบบครีม ทาให้ช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับสมุนไพรไทย อย่างไรก็ตามยังขาดการควบคุมมาตรฐาน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพสม่าเสมอ ซึ่งการควบคุมคุณภาพสามารถทาได้โดยสกัดสารสาคัญออกมาจากครีมสารสกัดลูกประคบสมุนไพรด้วยวิธี liquid-liquid extraction ในสารละลายเมทานอลหรือเอทานอล จากนั้นนามาตรวจสอบสารที่ออกฤทธิ์ หรือตัวบ่งชี้ทางเคมีด้วยวิธีทีแอลซีเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานและสารสกัดจากสมุนไพรแต่ละชนิด ซึ่งขมิ้นชัน ไพลมีตัวบ่งชี้ทางเคมีคือ curcumin ตะไคร้บ้าน ผิวมะกรูดมีตัวบ่งชี้ทางเคมีคือ citral citronellal และ limonene ใบหนาดมีตัวบ่งชี้ทางเคมีคือ borneol ผลที่ได้พบว่า เมทานอลสกัดได้สารเคมีโดยรวมออกมามากกว่าเอทานอล และสามารถควบคุมคุณภาพของครีมลูกประคบสมุนไพรได้ โดยพบ curcumin และอนุพันธ์ในสารสกัดสมุนไพรและสารสกัดครีมซึ่งมาจากขมิ้นชันและไพล แต่ไม่พบตัวบ่งชี้ทางเคมีตัวอื่นๆในสารสกัดสมุนไพรและสารสกัดครีม ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าสมุนไพรที่นามาใช้มีคุณภาพต่าหรือระยะเวลาที่เก็บสารสกัดนั้นนานเกินไป
abstract:
The herbal compress ball is a Thai wisdom traditional product which is recently well known and widely uses to relieve pain, swelling and sprains. In order to be a modern dosage form, portability and easy to use, topical cream is developed for adding the value of Thai herbs. However, to get a good quality and consistent product, the quality control method has to be developed. The quality control of the markers in cream can be achieved by liquid-liquid extraction using methanol or ethanol solvents. The active compounds or chemical markers were determined using thin-layer chromatography (TLC) technique by comparing with reference standards and each herb extract; curcumin is a chemical marker of turmeric and Zingiber cassumunar while citral, citronellal and limonene are a chemical marker of lemon grass and leech lime. Borneol is a chemical marker of Ngai camphor tree. The results showed that methanol can extract more chemical compounds than ethanol. The quality control of herbal extract cream was succeeding. Curcumin and its derivative were found in crude extract and extract of herbal compress cream that come from turmeric and Zingiber cassumunar. But other chemical markers were not found both in crude extract and extract of herbal compress cream. It might cause by the low quality of crude drug or long time storage of crude extract before preparation.
.