การศีกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากเครื่องเทศในการต้านเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร

โดย: นายรัฐพงศ์ รอดอุตม์, น.ส.วรฉัตร พงศ์ถาวรภิญโญ    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 23

อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: น้ำมันหอมระเหย, เครื่องเทศ , เชื้อจุลชีพที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร, ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโต, Volatile oil, Spices, Gastrointestinal pathogen, Antimicrobial activity
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากเครื่องเทศในการยับยั้งเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยทดสอบน้ำมันหอมระเหย 8 ชนิด ได้แก่ น้ำมันกระชาย, น้ำมันมะกรูด, น้ำมันใบมะกรูด, น้ำมันกะเพรา, น้ำมันโหระพา, น้ำมันข่า, น้ำมันพลู และน้ำมันพริกไทยดำ กับเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค 7 ชนิด ได้แก่ E. coli, S.typhimurium, Shigella flexneri, S.enderiditis, B.cereus, S.aureus และ S.typhi จากการทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธี Agar disc diffusion โดยแปลผลจาก clear zone ที่ปรากฎ พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อได้ที่สุด คือ น้ำมันกระชาย จากนั้นจึงทดลองหาค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) โดยวิธี two-fold dilution พบว่ามีประสิทธิ-ภาพในการยับยั้งเชื้อ E. coli, S.typhimurium, Shigella flexneri, S.enderiditis, B.cereus, S.aureus และ S.typhi ที่มีความเข้มข้น 1, 1, 0.5, 2, 0.25, 0.25 และ 0.5% v/v ตามลำดับ และทดลองหาค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MBC)พบว่าน้ำมันกระชายมีความสามารถในการฆ่าเชื้อ E. coli, S.typhimurium, Shigella flexneri, S.enderiditis, B.cereus, S.aureus และ S.typhi ที่มีความเข้มข้น 1, 1, 0.5, 2, 0.25, 0.25 และ 0.5% v/v ตามลำดับ จากนั้นจึงทำการทดลองเพื่อหาสารสำคัฐที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อด้วยวิธี Bioautography ของน้ำมันกระชายและสารสำคัญของน้ำมันกระชายได้แก่ cinneole, geraniol, methyl cinnamate, camphor, borneole กับเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิดที่ได้ผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ดีได้แก่ E. coli, S.typhi, Sh.flexneri พบว่าสารออกฤทธิ์สำคัญที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดคือ สาร Geraniol
abstract:
The objective of this special project was to study antibacterial activity of the essential oils from Thai spices against pathogenic bateria in gastrointestinal tract. The essential oils used in this experiment were Krachaai , kaffir lime , kaffir lime leaf , sweet basil , holy basil , galangal , betal vine and black pepper oils. All the oils were tested against pathogenic bacteria in gastrointestinal tract, E. coli , S.typhimurium , Shigella flexneri , S.enderiditis , B.cereus , S.aureus and S.typhi. The screening test was performed by disc diffusion method, krachaai exhibited highest antibacterial activity with a zone of inhibition(1.70, 1.6, 1.13, 3.06, 1.23, 2.68, 3.63, 3.17cm.). The minimum inhibition concentration (MIC) of the krachaai oil was determined by broth dilution method. The MIC of krachaai oil against E. coli , S.typhimurium , Shigella flexneri , S.enderiditis , B.cereus , S.aureus and S.typhi were 1 , 1 , 0.5 , 2 , 0.25 , 0.25 and 0.5 %v/v,respectively. The MBC of Krachaai against E. coli , S.typhimurium , Shigella flexneri , S.enderiditis , B.cereus , S.aureus and S.typhi were 1 , 1 , 0.5 , 2 , 0.25 , 0.25 and 0.5 %v/v,respectively. The active compounds were determined by bioautography technique. Kraichaai and itus major compounds, cineole , geraniol , methyl cinnamate , camphor , borneole were tested against B.cereus , S.typhi , Sh.flexneri and the results indicated that geraniol is an active compound.
.