การพัฒนาตำรับครีมอาร์บูติน ความเข้มข้นสูงเพื่อรักษาฝ้า

โดย: นางสาววรวีร์ บุญส่งสวัสดิ์,นางสาววราลี อาสนวิทยา    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 22

อาจารย์ที่ปรึกษา: อมราพร วงศ์รักษ์พานิช , วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , อัญชลี จินตพัฒนากิจ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: อาร์บูติน, ฝ้า, ครีม, อิมัลชัน, การศึกษาเสถียรภาพ, โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง, สารทำอิมัลชัน, ปริมาณอาร์บูตินที่คงเหลือในตำรับ, arbutin, melasma, cream, emulsion, stability study, HPLC, emulsifier, arbutin remain
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาตำรับอาร์บูตินความเข้มข้นสูงเพื่อรักษาฝ้าที่มีเสถียรภาพทางกายภาพ เคมี และจุลชีวภาพ โดยพัฒนาตำรับครีมอาร์บูตินที่ความเข้มข้น 7% w/w จำนวนสี่ตำรับ จากครีมพื้นสองชนิดคืออิมัลชันประเภทน้ำมันในน้ำ (oil in water, O/W) และน้ำในน้ำมัน (water in oil, W/O) ที่มีค่า pH อยู่ในช่วง 4.0 ± 0.2 (O/W สูตรที่ 1 และ W/O สูตรที่ 3) และ 5.5 ± 0.2 (O/W สูตรที่ 2 และ W/O สูตรที่ 4) ทำการเก็บข้อมูลที่สามสภาวะ ได้แก่ อุณหภูมิห้อง, 2-8°C และ 40°C นาน 14 วัน โดยศึกษาเสถียรภาพทางกายภาพ ได้แก่ การปั่นเหวี่ยง, pH, ลักษณะทางกายภาพ, ขนาดอนุภาค และความหนืด ศึกษาเสถียรภาพทางเคมีโดยการวิเคราะห์ปริมาณอาร์บูตินด้วยวิธี High Performance Liquid Chromatography นอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบเสถียรภาพทางจุลชีวภาพด้วยการทดสอบปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ ผลการพัฒนาสูตรตำรับพบว่าตำรับ O/W ที่มีความคงตัวสูงสุดใช้สารทำอิมัลชัน (emulsifier) สองชนิดคือ steareth-21 และ steareth-2 ตำรับ W/O ใช้สารทำอิมัลชันปฐมภูมิสองชนิด ได้แก่ sorbitan monooleate (Span®80) และ polysorbate80 (Tween®80) โดยมี glyceryl monosteareth เป็นสารทำอิมัลชันทุติยภูมิ พบว่าตำรับ O/W ที่เตรียมได้ทั้งสองช่วง pH มีเสถียรภาพทางกายภาพ, เคมี และจุลชีวภาพ ในทางกลับกัน ตำรับ W/O ที่เก็บ ณ อุณหภูมิห้องและที่ 2-8°C เกิดการตกผลึกของอัลฟาอาร์บูติน ทางด้านจุลชีวภาพตำรับ W/O สูตรที่ 3 (pH 4.0 ± 0.2) พบการปนเปื้อนของรา จึงสรุปได้ว่าตำรับครีมอาร์บูติน O/W สูตรที่ 1 (pH 4.0 ± 0.2) และสูตรที่ 2 (pH 5.5 ± 0.2) มีเสถียรภาพมากกว่าตำรับ W/O และตำรับ O/W ที่เตรียมได้นี้มีความเหมาะสมสำหรับการเตรียมครีมอาร์บูติน ความเข้มข้นสูงให้กับผู้ป่วยเฉพาะราย
abstract:
The aim of this study was to develop concentrated arbutin cream for treatment of epidermal melasma that have good stability in physical, chemical and microbiological aspects. The development of 7 %w/w concentrated arbutin creams consist of four formulations from two types of cream base, oil in water (O/W) and water in oil (W/O) in two pH ranges (4.0 ± 0.2 and 5.5 ± 0.2) Data were collected from three different storage conditions which are room temperature, 2-8°C and 40°C for fourteen days. Physical stability of arbutin creams were evaluated via centrifugation test, pH, appearance, droplet size and viscosity. The chemical stability was quantified using High Performance Liquid Chromatography analysis. In addition, Microbiological stability studies, the microbial enumeration tests, were performed. According to the results, the optimized O/W formulation used steareth-21 and steareth-2 as emulsifiers while the optimized W/O formulation used sorbitan monooleate (Span®80) along with polysorbate80 (Tween®80) as primary emulsifiers and glyceryl monosteareth as a secondary emulsifier. O/W arbutin creams in both pH conditions showed good physical, chemical and microbiological stability. In contrast, the arbutin precipitated out of the W/O creams in the form of crystals after being stored at room temperature and 2-8°C. W/O arbutin cream formulation 3 (pH 4.0 ± 0.2) was found to be contaminated with molds. It can be conclude that O/W arbutin creams formulation 1 (pH 4.0 ± 0.2) and formulation 2 (pH 5.5 ± 0.2) has better stabilities than W/O arbutin creams and these O/W arbutin creams could be use as concentrated arbutin cream as for extemporaneous preparation.
.