การพัฒนาสูตรตำรับครีมสมุนไพรที่ทำให้ผิวขาว

โดย: น.ส. เมริณี อัมพรพัฒน, นายไกรฤกษ์ พิทักษ์สันตโยธิน    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 22

อาจารย์ที่ปรึกษา:    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: เมลานิน, สมุนไพรเพื่อผิวขาว, ไทโรซิเนส, หม่อน, ชะเอมเทศ, melanin, whitening herbal, tyrosinase, mulberry , Morus alba, licorice root
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบันมีการนำสมุนไพรชนิดต่างๆมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง โดยเฉพาะเครื่องสำอางประเภทครีมก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการนำสารสกัดจากสมุนไพรมาประยุกต์เพื่อเป็นส่วนประกอบอย่างแพร่หลายทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะครีมเพื่อผิวขาว ซึ่งมีสารช่วยลดความเข้มของสีผิวโดยออกฤทธิ์ต้านเอนไซน์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาในการสร้างเม็ดสีเมลานินซึ่งเป็๋นสาเหตุที่ทำให้ผิวคล้ำ สมุนไพรที่ได้รับการคัดเลือกมาทำวิจัยคือ หม่อน (Morus alba) และชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) โดยเตรียมสารสกัดจากส่วนต่างๆของหม่อนและสารสกัดจากชะเอมเทศ แล้วนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสโดยวิธี Dopachrome method พบว่าส่วนเนื้อไม้หม่อนมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสมากที่สุดคือ 79.64% และรากชะเอมเทศมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสเท่ากับ 53.13% และ 42.50% เมื่อสกัดด้วย ethyl acetate และ 70% EtOH ตามลำดับ โดยตำรับครีมที่ใช้ในการทดสอบในอาสาสมัครมี 2 ตำรับคือ ในตำรับแรก ประกอบด้วยสารสกัดหม่อน 1% และสารสกัดรากชะเอมเทศ 0.5% ตำรับที่สอง ประกอบด้วยสารสกัดหม่อน 2% และสารสกัดรากชะเอมเทศ 0.5% เมื่อนำครีมมาทดสอบความคงตัวโดยใช้วิธี Heating-cooling 6 รอบ (ที่อุณหภูมิ 4°C และ 45 °C ) และวิธีเร่ง (Accelerated test) โดยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 45 °C เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าครีมที่เตรียมมีสีและความหนืดเพิ่มขึ้น มีกลิ่นน้ำหอมจางลง ลักษณะเนื้อครีมมีความคงตัว ไม่มีการแยกชั้น จากนั้นทำการทดสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ด้วย Mikrocount® combi ผลการทดสอบไม่พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา และทำการวัดประสิทธิภาพของครีมโดยเปรียบเทียบสีผิวของอาสาสมัครจากก่อน-หลังใช้ครีมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าผลของการใช้ครีมในอาสาสมัครมีสีผิวจางลงเล็กน้อยและผลของความพึงพอใจในลักษณะทางกายภาพและการดูดซึมของครีมพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
abstract:
Herbs have been employed in a variety of ways, including their use as medicine, food supplements and in cosmetics. Herb extracts are incorporated as active ingredients into all types of skin care products, especially herbal skin lightening creams. Most natural ingredients in skin lightening cream have an effect of inhibiting tyrosinase, which is the rate limiting enzyme in melanin synthesis. The anti-tyrosinase herbs selected for the present study were Morus alba (Mulberry) and Glycyrrhiza glabra (Licorice). The anti-tyrosinase activity was tested by the Dopachrome method and the results showed that Mulberry stem wood had the best activity in inhibiting tyrosinase enzyme at 79.64% while the ethyl acetate and 70% ethanol extracts of Licorice inhibited the enzyme at 53.13% and 42.50%, respectively. Two skin lightening cream formulae were developed, the first formula containing 0.5% Licorice root extract and 1% Mulberry extract and the second containing 0.5% Licorice extract and 2% Mulberry extract. They were then evaluated for their physical properties (greasiness, spreadability, texture, and over all feeling). Stability study was carried out by an accelerated method (45°C) and a Freeze-Thaw method. The results were examined directly after preparation and at 1,2,3, and 4 weeks, respectively. All formulations had good physical and chemical stability but the color of creams became darker in all conditions. Finally, the microbiological test using a microbial test kit (Mikrocount® combi) revealed no microbial contamination. An efficacy test for skin lightening carried out in 20 volunteers age between 22 9 35 years old for 4 weeks using a questionnaire indicated that slight skin lightening was observed in most subjects who were satisfied with the texture and absorption rate of the cream.
.