การเตรียมและการประเมินแผ่นฟิล์มอัลจิเนต

โดย: สายรุ้ง ธนฐิติวงศ์, อรพรรณ กาญจนฐิติวรณ์    ปีการศึกษา: 2548    กลุ่มที่: 22

อาจารย์ที่ปรึกษา: พจวรรณ ลาวัลย์ประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: อัลจิเนตอิมัลชัน, แผ่นฟิล์ม, Alginate emulsion, Film
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีเตรียมแผ่นฟิล์มโดยเปรียบเทียบการเตรียม 2 วิธี คือ วิธีเทลง petridish และวิธีลากด้วย spreader เลือกวิธีที่สะดวกและเหมาะสม เพื่อนำมาพัฒนา ตำรับแผ่นฟิล์ม ขั้นตอนการเตรียมแผ่นฟิล์มเริ่มจากเตรียมอัลจิเนตอิมัลชัน(o/w emulsion) จาก นั้นนำมาทำเป็นแผ่นฟิล์มแล้วนำไปไขว้เชื่อมด้วยสารละลาย CaCl2 2.0% w/v ล้างด้วยน้ำกลั่น และนำเข้าตู้อบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้แผ่นฟิล์มแห้ง นอกจากนี้ได้ทำการประเมิน แผ่นฟิล์มที่มีความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตต่าง ๆ กัน คือ 0.8, 1.0, 1.2, 1.6 และ 3.2% w/w เลือกความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตที่ทำให้แผ่นฟิล์มบางเรียบและคงตัวดี นำมาศึกษาผลของ สารช่วยที่มีต่อตำรับ โดยสารช่วยที่เติมลงในวัตภาคน้ำมัน คือ beeswax ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ กัน คือ 0, 1.0, 3.0, 5.0 และ 10.0% w/w ของวัตภาคน้ำมันและสารช่วยที่เติมลงในวัตภาคน้ำ คือ HPMC และ MC 4000 ที่ความเข้มข้น 1.0% w/w คุณสมบัติที่ใช้ในการประเมินแผ่นฟิล์มได้แก่ ลักษณะภายนอกทางกายภาพ การหดตัว อัตราการระเหยแห้ง น้ำหนักของแผ่นฟิล์ม ความหนา ของแผ่นฟิล์ม การดูดซับของแผ่นฟิล์มและการซึมผ่านของไอน้ำ
abstract:
In this special project, two methods of film preparation, i.e., pouring onto petridish and spreading methods were developed and compared. The more appropriate and more convenience method was chosen. Alginate emulsion (o/w) was firstly prepared. The emulsion was casted and then crosslinked in CaCl2 2.0% w/v. The film obtained was washed in distilled water prior to drying in hot air oven at 50°C. Film with various concentration of alginate ,i.e., 0.8, 1.0, 1.2, 1.6 and 3.2% w/w were prepared and evaluated. The formulation which provided thin and stable film was chosen to be used in the effect of excipients study. Beeswax was used as an oil phase excipient at concentrations of 0, 1.0, 3.0, 5.0 and 10.0% w/w. 1% HPMC or 1% MC 4000 was used as an aqeous phase excipient. Physical appearance, shrinking, drying rate, weight, thickness, absorbency and water transmission properties of the films were evaluated. .
.