การพัฒนาตารับโลชันจากสารสกัดใบรางจืด |
โดย: นายเฉลิมเกียรติ เล็กสาคร, นายปวรุตม์ วงศ์มโนวิสุทธิ์ ปีการศึกษา: 2557 กลุ่มที่: 21 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยนุช โรจน์สง่า , อัญชลี จินตพัฒนกิจ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี Keyword: Topical lotion, Thunbergia laurifolia leaf extract, Topical lotion, Thunbergia laurifolia leaf extract |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตารับโลชันจากสารสกัดใบรางจืด (Thunbergia laurifolia leaf extract ) พร้อมทั้งพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณ คาเฟอิก แอซิด (caffeic acid) ในโลชันสารสกัดใบรางจืด การควบคุมคุณภาพสารสกัดใบรางจืดโดยวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี (TLC) พบว่าโครมาโทแกรมของสารสกัดน้าจากใบรางจืดประกอบด้วย คาเฟอิก แอซิด การคัดเลือกโลชันพื้นชนิดน้ามันในน้าและน้าในน้ามันที่เหมาะสมจากการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพเบื้องต้นได้แก่ เนื้อสัมผัส ความสามารถในการดูดซึม การกระจายตัว ความเหนอะ ความสามารถในการล้างออกด้วยน้าและความคงสภาพในสภาวะอุณหภูมิสลับสูงและต่าโดย Freeze and thaw cycling และนามาพัฒนาเป็นตารับโลชันสารสกัดรางจืด พบว่าตารับโลชันชนิดน้าในน้ามันของสารสกัดใบรางจืดมีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมและมีความคงสภาพมากกว่าตารับโลชันชนิดน้ามันในน้า เมื่อพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอิก แอซิด ในโลชันสารสกัดใบรางจืดโดยวิธีไฮเพอร์ฟอร์มานลิคิวโครมาโทกราฟี พบว่าสภาวะที่เหมาะสมคือการใช้คอลัมม์ Reverse phase C18 ใช้ 0.5% Glacial acetic acid : Acetonitrile (85:15) เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ และตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 336 นาโนเมตร เมื่อประเมินความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า คาเฟอิก แอซิดมีความสัมพันธ์ระหว่างค่าการดูดกลืนแสงและความเข้มข้นเส้นตรง (R2>0.995)ในช่วงความเข้มข้น 5-80 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีร้อยละการคืนกลับเท่ากับ 84.0-100.5 และความแม่นยาของการวิเคราะห์ในรูป % RSD น้อยกว่า 5.7 โดยปริมาณร้อยละที่ระบุในฉลากของคาเฟอิก แอซิดที่วิเคราะห์ได้ในโลชันชนิดน้ามันในน้าและน้าในน้ามันของสารสกัดใบรางจืดเท่ากับ 100.7 ± 0.14 และ 108.4 ± 0.66 ตามลาดับ |
abstract: The aims of this project were to formulate the lotion containing Thunbergia laurifolia Lindl. (RJ) leaf extract and to develop analytical method for determination of caffeic acid in the lotion. The quality control of the RJ leaf extract by Thin-layer chromatography showed chromatogram with compound corresponding to caffeic acid. The suitable lotion bases of water-in-oil and oil-in-water were selected based on physical properties such as texture, absorptibility, spreadability, non-greasy, washability and stability tested by freeze and thaw cycling. Then, the lotions containing RJ extract were developed. The physical properties and stability of the water-in-oil lotion was better than oil-in-water lotion. The optimized HPLC method for determination of caffeic acid in the lotion containing RJ extract consisted of a C18 reversed-phase column, 0.5% glacial acetic acid/ Acetonitrile in the ratio of 85:15 as mobile phases, and a detection wavelength of 336 nm. For method validation, the linearity range for caffeic acid (R2> 0.995) was 5-80 μg/mL. The recovery was in the range of 84.0-100.5%, and the precision in term of %RSD was less than 5.74 %. The percent labeled amount of caffeic acid of oil-in-water and water in oil RJ lotion were 100.7± 0.14 % and 108.4 ± 0.66%, respectively. |
. |