การพัฒนาแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร

โดย: ดาราพร พรมแสนปัง, อมรรัตน์ แสนศิริวงศ์    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 21

อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , อัญชลี จินตพัฒนกิจ , ดวงดาว ฉันทศาสตร์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ขมิ้นชัน, ไพล, ตะไคร้บ้าน, มะกรูด, ลูกประคบ, แผ่นแปะแก้ปวด, Turmeric, Zingiber cassumunar, Lemon grass, Leech Lime, herbal compress, analgesic patch
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรลูกประคบในรูปแผ่นแปะ โดยลูกประคบที่นำมาพัฒนาประกอบด้วยสมุนไพร 7 ชนิดดังนี้ ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้บ้าน มะกรูด มะขาม ส้มป่อย และหนาด การทดลองทำโดยเตรียมสารสกัด 95%เอทานอลของสมุนไพรแต่ละชนิด และสมุนไพรรวมในลูกประคบด้วยวิธีการหมัก (maceration) นาน 7 วัน แล้วระเหยแห้งภายใต้ความดันต่ำ พบว่าในลูกประคบ 1 ลูกได้ปริมาณสารสกัดรวม 7.78 ร้อยละโดยน้ำหนัก เมื่อนำสารสกัดของสมุนไพรแต่ละชนิด และสารสกัดสมุนไพรรวมจากลูกประคบมาตรวจหาสารสำคัญของสมุนไพรแต่ละชนิด ด้วยวิธี Thin layer chromatography โดยใช้สารมาตรฐานซึ่งเคยมีรายงานว่าพบในสมุนไพรแต่ละชนิดเป็นสารเปรียบเทียบ พบว่าสารสกัดสมุนไพรเดี่ยว และสารสกัดรวมสมุนไพรจากลูกประคบมีสารเคมีเช่นเดียวกับสารมาตรฐาน เมื่อเตรียมแผ่นแปะจากสารสกัดรวมเข้มข้นจากลูกประคบ โดยใช้ Eudragit RL 100 เป็นสารก่อฟิล์ม PEG 200 เป็นสารเพิ่มความยืดหยุ่น และทดลองใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิดคือ 95%เอทานอล อะซีโตน และสารผสมระหว่าง 95%เอทานอลกับอะซีโตน (อัตราส่วน 1:1) เตรียมสารสกัดในปริมาณ 0.03 กรัมต่อแผ่นแปะขนาด 49 ตารางเซนติเมตร เมื่อประเมินลักษณะของแผ่นแปะที่ได้ พบว่าแผ่นแปะทุกตำรับมีการกระจายตัวของสารสกัดไม่สม่ำเสมอโดยสังเกตจากสีของสารสกัด และพบว่าตำรับแผ่นแปะที่ใช้อะซีโตนเป็นตัวทำละลายได้แผ่นฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุด อย่างไรก็ตามควรมีการพัฒนาตำรับเพิ่มเติมและนำไปทดสอบการใช้ในมนุษย์ต่อไป
abstract:
This project is aimed for development of topical analgesic patch from the herbal compress. The herbal compress are composed of seven species, i.e., Curcuma longa L. (Turmeric), Zingiber cassumunar Roxb., Cymbopogon citrate (DC.) Stapf (Lemon grass), Citrus hystrix DC. (Leech Lime), Tamarindus indica L. (Tamarind), Acacia concinna (Willd.) DC., and Blumea balsamifera DC. (Ngai camphor plant). 95%Ethanol extracts of each herbs and the herbal compress were prepared by maceration for 7 days. After filtering, the filtrate was evaporated under reduced pressure. Yield of herbal compress extract was 7.78%w/w. Qualitative analyses of the chemical compounds in each herbal extracts and the herbal compress extract were performed by Thin Layer Chromatography compared to reference standards. From the chromatograms, it was shown that the herbal extracts and the herbal compress extract had the same chemical compounds as reference standards. The topical analgesic patches were formulated by using Eudragit RL 100 as a film former and PEG 200 as a plasticizer. Three solvents, 95%ethanol, acetone, 95%ethanol-acetone (1 : 1), were used to dissolved the extract and prepared the film patches containing 0.03 grams per 49 cm2. The appearance of film patches were evaluated by observing the film colour. It was found that all patches showed unevenly dispersion of extract. The film using acetone as a solvent offered the most elasticity film compared to other solvents. However, product development and clinical trials should be performed further.
.