ตำรับยาไทยที่ใช้ในระบบทางเดินอาหารจากคัมภีร์ปฐมจินดา |
โดย: ชฎารัตน์ อิสสรารักษ์, ผกาวดี สุวรรณโณ ปีการศึกษา: 2552 กลุ่มที่: 21 อาจารย์ที่ปรึกษา: อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: ตำรับยาไทย, ระบบทางเดินอาหาร, คัมภีร์ปฐมจินดา , Thai Traditional Medicine Formularies, Gastrointestinal System, Pathom Chinda Pharmacopoeia |
บทคัดย่อ: คัมภีร์ปฐมจินดาเป็นตำราหนึ่งในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับแม่และเด็ก ตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของหญิงเมื่อตั้งครรภ์ การคลอดจนถึงการดูแลรักษาทารกหลังคลอด นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงโรคในเด็กและยารักษาโรค โดยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคซาง และ โรคตาน ซึ่งมักพบอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก ท้องเดิน ปวดท้อง เป็นต้น โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำรับยาที่ใช้ในระบบทางเดินอาหารจากคัมภีร์ ปฐมจินดา อ้างอิงจากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง และตำราการแพทย์แผนไทยต่างๆ และคัดเลือกตำรับเพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาสำหรับอาการในระบบทางเดินอาหาร 4 อาการ ได้แก่ (1) กรณีศึกษาตำรับยาที่ใช้แก้อาการท้องผูก (2) กรณีศึกษาตำรับยาที่ใช้แก้อาการตานซาง (3) กรณีศึกษาตำรับยาที่ใช้แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และ (4) กรณีศึกษาตำรับยาที่ใช้แก้อาการท้องเสีย มีมูกเลือด โดยอาศัยการวิเคราะห์คุณสมบัติและสรรพคุณของตัวยาสมุนไพรในตำรับ ตามแนวคิดการแพทย์แผนไทยประกอบกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สืบค้นได้ จากการศึกษาพบว่า ยาที่ใช้ในระบบทางเดินอาหารแต่ละตำรับ ประกอบด้วยตัวยาสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุณและอัตราส่วนของตัวยาแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน โดยตำรับที่ใช้แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จะเน้นใช้ยารสเผ็ดร้อนเพื่อสลายธาตุลม ในตำรับที่ใช้แก้อาการท้องผูก จะใช้ยาถ่ายเพื่อระบาย ร่วมกับยารสเผ็ดร้อน และจะเสริมยารสขมเพื่อแก้ไข้ในตำรับที่ใช้แก้อาการซางตาน ส่วนตำรับที่ใช้แก้ท้องเสีย เป็นมูกเลือด จะใช้ยารสฝาดเพื่อสมานแผลและฆ่าเชื้อ ร่วมกับยารสเผ็ดร้อน บางตำรับอาจใช้ยารสเย็นช่วยในการดับพิษร้อนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีการรักษาโรคตามแนวคิดของการแพทย์แผนไทย และสอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สืบค้นได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการใช้ยาตำรับเหล่านี้ อย่างไรก็ตามการใช้ยาสมุนไพรในผู้ป่วยย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตามความผิดปกติของธาตุ ที่เกิดขึ้น จึงควรใช้อย่างระมัดระวังตามคำแนะนำของแพทย์แผนไทยผู้เชี่ยวชาญ |
abstract: Pathom Chinda Pharmacopoeia is one of Thai medical textbooks in Tumra Paetsart Sonkrau covering the of mother and child health care from fertilization through physiological change during pregnancy to birth, including postpartum care. Moreover, the book also provides information on childhood ailments and therapeutic drugs. The common illnesses are Saang and Tarn, in which gastrointestinal symptoms are often involved such as constipation, flatulence, diarrhea, stomachache, etc. The objectives of this special project were to study and analyse Thai traditional medicine (TTM) formularies which were used in gastrointestinal system from Pathom Chinda Pharmacopoeia, in Tumra Paetsart Sonkhrau Chabub Luang, national TTM textbook and related books. In addition, 9 TTM formularies were also selected for further analysis on the following symptoms: (1) constipation (2) Saang and Tarn (3) flatulence and (4) bloody diarrhea. These formularies were analysed based on characteristics and properties of herbal components according to Thai traditional medicine concept and scientific information. From this study, it was found that each TTM formulary contained various types of herbal medicines having different properties and quantity ratios. Most were spicy herbs. In flatulence case, the formulary contained many spicy herbs to combat the wind elements. The formularies for constipation contained herbal laxatives and spicy herbs, which were enhanced with bitter herbs to relieve fever in the cases of Saang and Tarn. For bloody diarrhea case, astringent herbs, together with spicy herbs, were used for their healing and antiseptic properties in the digestive tract. Some formularies contained cool herbs to decrease toxicity from the excessive fire elements in blood circulation. All selected formularies in this study were in accordance with Thai traditional medicine concept, and also relevant to the scientific evidence, therefore, utilization of these formularies should be promoted. However, it should be noted that the treatment by Thai traditional medicine will be different in each case due to the differences in each person’s abnormalities of their elements. For this reason, Thai traditional medicine should be used under experienced TTM physician’s instructions. |
. |