การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ไทย

โดย: ต้องใจ ไพฑูรย์โยธิน,ปรมินทร์ วีระศิลป์    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 21

อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , เพ็ญโฉม พึ่งวิชา , สมใจ นครชัย    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ผลไม้ไทย, หม่อน, หว้า, องุ่น, จันลูกหอม, มะหลอด, : free radical scavenger, Thai fruits, Morus alba L., Syzygium cumini (L.) Skeels, Vitis vinifera L., Diospyros decandra Lour., Elaeagnus latifolia L.
บทคัดย่อ:
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลไม้ไทย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ หม่อน หว้า องุ่น จัน ลูกหอมและมะหลอด โดยการนำเนื้อผลไม้ไปคั้นน้ำและกรองแยกกากออก จากนั้นนำน้ำผลไม้ที่ได้ ไปผ่านกระบวนการระเหยแห้งด้วยความเย็น (freeze dry) จนได้สารสกัดที่แห้ง ทำการทดสอบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผลไม้ทั้ง 5 ชนิดด้วยวิธี DPPH method เปรียบเทียบกับ วิตามินซี และ วิตามินอี (Trolox) ซึ่งเป็นสารมาตรฐาน และทำการทดสอบสารสกัดต่อด้วยวิธี AAPH hemolysis method ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบจากค่า IC50 โดยวิธีDPPH method พบว่าสาร สกัดจากหม่อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด รองลงมาคือหว้า จันลูกหอม มะหลอด และองุ่น โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1,455.03, 1,974.93, 2,477.19, 4,094.70, 15,908.00 μg/ml ตามลำดับ สำหรับวิตามินซี มีค่า IC50 16.75 μg/ml และ วิตามินอี มีค่า IC50 25.69 μg/ml ส่วน วิธี AAPH hemolysis method พบว่าฤทธิ์ยับยั้งการแตกของเม็ดเลือดแดง หม่อนมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือหว้า มะหลอด จันลูกหอมและองุ่น ( ความเข้มข้นของสารสกัดแต่ละชนิดเท่ากับ 5 mg / ml ) โดยสามารถยืดเวลา 50% hemolysis จาก 52 นาที ในกลุ่มควบคุม เป็น 176, 133, 106, 96, 81 นาทีตามลำดับ โดยที่เวลา 50% hemolysis ของวิตามินอี (0.5 mg / ml ) มีค่า 178 นาที การตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นพบว่าสารสกัดจากหม่อน, หว้าและองุ่นมีสารกลุ่ม anthocyanin ส่วนสารสกัดจากจันลูกหอมและมะหลอดมีสารกลุ่ม flavonoids
abstract:
Study of free radical scavenger properties of five Thai fruits: Morus alba L., Syzygium cumini (L.) Skeels, Vitis vinifera L., Diospyros decandra Lour. and Elaeagnus latifolia L.. Fruits were compressed into juice and then filtered. The filtrates were lyophilized until dry. The scavenging properties were detected by DPPH method. Vitamin C and Trolox were used as reference standard. And using AAPH to detect protective properties of the fruit extracts (concentration of each extracts were 5 mg / ml ) against free radical–induced oxidative hemolysis of sheep erythrocyte. The DPPH method results showed that Morus alba L. fruit extract possessed the most potent properties. While Syzygium cumini (L.) Skeels, Diospyros decandra Lour., Elaeagnus latifolia L.and Vitis vinifera L. showed mild activities and the IC50 were 1,455.03, 1,974.93, 2,477.19, 4,094.70 and 15,908.00 μg/ml, respectively. While IC50 of vitamin C was 16.75 μg/ml and Trolox was 25.69 μg/ml. By AAPH hemolysis method it was found that Morus alba L. fruit extract possessed the most potent properties. While Syzygium cumini (L.) Skeels, Elaeagnus latifolia L. Diospyros decandra Lour. and Vitis vinifera L. showed mild activities. The time of 50% hemolysis could be extended to 176, 133, 106, 96, 81 minutes,respectively when compare to control group (52 minutes) and trolox at the concentration of 0.5 mg/ ml (178 minutes). The phytochemical screening tests showed the presence of anthocyanin in Morus alba L., Syzygium cumini (L.) Skeels and Vitis vinifera L. and the presence of flavonoids in Diospyros decandra Lour. and Elaeagnus latifolia L..
.