การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและระบบสรีรวิทยาของแพทย์แผนตะวันออกเพื่อการแพทย์ผสมผสาน : ระบบทางเดินอาหารส่วนบน |
โดย: ปัญชลี ดีเจริญ, พรทิพย์ ยรรยงเวโรจน์ ปีการศึกษา: 2551 กลุ่มที่: 20 อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: การแพทย์แผนไทย, องค์รวม, อุทริยัง, Thai Traditional Medicine, Wholistic, Utariyang |
บทคัดย่อ: เนื่องจากระบบการรักษาของการแพทย์ในปัจจุบัน เป็นระบบการรักษาที่วิเคราะห์ความผิดปกติของร่างกายแบบลดส่วน ซึ่งที่ผ่านมาการรักษานั้นก็รักษาให้หายขาดได้บางโรค เช่น โรคเฉียบพลันต่างๆ เป็นต้น แต่ไม่สามารถรักษาโรคเรื้อรังให้หายขาดได้ ในทางกลับกันการแพทย์ตะวันออกนั้นมองการเจ็บป่วยแบบองค์รวม สามารถรักษาโรคอื่นที่แพทย์แผนปัจจุบันรักษาให้หายขาดไม่ได้ด้วย ปัจจุบันสถาบันการศึกษาไม่มีการสอนเกี่ยวกับระบบสรีรวิทยาอย่างชัดเจนและระบบทางเดินอาหารส่วนบนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่เกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย จึงทำให้ต้องทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบต่อไป โดยการรับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์สุรพรรณ ศิริธรรมวานิช แพทย์แผนไทย ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ประกอบกับการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียงให้เข้าใจได้ง่าย ทำให้ได้แนวคิดของการแพทย์ตะวันออก ซึ่งมีการตรวจโดยอาศัยการสอบถามอาการ สังเกตสภาวะผู้ป่วย ตรวจชีพจร และวินิจฉัยสาเหตุแห่งโรคตามหลักสมุฏฐาน มหาภูตรูป และระบบพลังปราณจักระ ขั้นต่อไปจะเป็นการรักษาด้วยการใช้ตำรับยาสมุนไพร โดยต้องทราบถึงสรรพคุณของสมุนไพร จากการศึกษาพบว่าการแพทย์แผนไทยมีศัพท์อุทริยังซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรคของระบบอาหารส่วนบนแลพการใช้ระบบการรักษาแบบการแพทย์แผนตะวันออกร่วมกัีบองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ทำให้มีแนวทางการรักษาที่น่าจะสามารถทำให้หายขาดจากโรคได้ แต่การรักษาแบบการแพทย์แผนตะวันออกนั้นต้องใช้เวลาในการรักษา ดังนั้นเราควรใช้การรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อระงับอาการและติดตามผลการรักษา จะเห็นได้ว่าการแพทย์ทั้ง 2 ระบบ สามารถนำมาผสมผสานกันได้ เราจึงควรนำมาบูรณาการเพื่อนำมาใช้ในการรักษาให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด |
abstract: At present modern medicine is based on the point of view that body is analysed disease in reductionist terms. Some diseases can be cured i.e.acute conditions etc. However, modern medicine still cannot cure some degenerative diseases. On the contrary, Oriental Medicine consider human ailments in wholistic terms. At present, a lot of institutes do not include the physiology knowledge , which is essential to the diagnosis. The upper gastrointestinal tract is the part of body which is prone to diseases and is chosen as a study model. The process involved direct study from the knowledge and experiences of Master Suraphan Sirithamvanij, a Thai Traditional doctor with over 30 years of clinical experiences, and literature study. The information are analysed and presented in the language that is easily followed and understood. The study revealed the paradigm of Eastern Medicine in healing system as follow; examination is based on interview, observation and pulse reading and diagnosis is made based on origin of diseases according to eastern medicine i.e. Samuthan, Mahapootaroop, and Pranajakra followed by prescribing herbal medicine. The selection of herbs are based its activities. Our study revealed a technical term nUtariyango in Thai Traditional medicine which contributes to the origin of upper GI diseases. The use of eastern paradigm in combination with scientific knowledge is likely to cure patients having upper GI ailments due to its wholistic approaches i.e. cure all systems that are involved. However, eastern medicine requires longer time, therefore, western medicine should be used to relief the symptoms and follow up the treatment by scientific procedures. In conclusion, both branches of medicine have their own merits and should be used to complement each other for the utmost benefit of patients. |
. |