ความชุกของเชื้อจุลชีพในอุปกรณ์สื่อสารของ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ |
โดย: นางสาวอรพรรณ อัฑฒากร, นางสาวอัจฉรียา เผือกวิไล ปีการศึกษา: 2560 กลุ่มที่: 2 อาจารย์ที่ปรึกษา: เมธี ศรีประพันธ์ , มัลลิกา ชมนาวัง ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา Keyword: การปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ, โทรศัพท์มือถือ, เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ, นักศึกษาเภสัชศาสตร์, Microbial contamination, mobile phone, antibiotic resistant microbe, pharmacy student |
บทคัดย่อ: มีงานวิจัยก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์สื่อสารเป็นแหล่งสะสมเชื้อจุลชีพรวมถึงเชื้อดื้อยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคลากรทางการแพทย์แต่ยังมีการศึกษาน้อยมากในผู้ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัย โครงการพิเศษนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของเชื้อจุลชีพและเชื้อดื้อยาที่พบในอุปกรณ์สื่อสารของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2-5 จำนวน 55 เครื่องโดยเป็นโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 53 เครื่องและแท็บเล็ต 2 เครื่องด้วยเทคนิคมาตรฐานทางจุลชีววิทยารวมถึงศึกษาพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร ผลการศึกษาพบว่าสามารถตรวจพบเชื้อจุลชีพในอุปกรณ์สื่อสารทั้งสิ้น 54 เครื่อง (98%) โดยแยกเชื้อได้ 155 isolates ซึ่งเป็นเชื้อกลุ่ม Coagulase-negative staphylococci (CoNS) มากที่สุด (63/155, 40.6%) รองลงมาคือ Bacillus spp. (59/155, 38.1%), Staphylococcus aureus (23/55, 14.8%), Micrococcus spp. (8/155, 5.2%), Viridan streptococci (1/155, 0.65%) และ Corynebacterium mucifaciens (1/155, 0.65%) รวมถึงพบเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) จำนวน 3 isolates (13.04%) นอกจากนี้อาสาสมัครส่วนใหญ่มีประวัติการไปสถานพยาบาลรวมถึงไม่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดอุปกรณ์สื่อสาร ดังนั้นงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ นอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือสามารถเป็นแหล่งสะสมของเชื้อจุลชีพได้รวมถึงการไม่ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออาจเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการสะสมและการแพร่กระจายของเชื้อจุลชีพในชุมชนได้ |
abstract: Previous studies have illustrated microbial contamination including antibiotic-resistant germs on communication devices, especially in healthcare workers. However, few studies have been conducted in non-healthcare workers including university students. This project aims to study the prevalence of microbial contamination in 55 communication devices (53 smartphones and 2 tablets) of second-to-fifth-year pharmacy students using standard microbiological techniques. We also study the behaviors of using communication devices. Fifty-four devices (98%) were contaminated with microbes (155 differently isolated colonies). Most of them were Coagulase-negative Staphylococci (CoNS) (63/155, 40.6%), following by Bacillus spp. (59/155, 38.1%), Staphylococcus aureus (23/55, 14.8%), Micrococcus spp. (8/155, 5.2%), Viridan streptococci (1/155, 0.65%) and Corynebacterium mucifaciens (1/155, 0.65%), respectively. We found Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) (3/23, 13.04%), as well. Most participants experienced with going to hospitals and did not use antiseptics for cleaning devices. We can conclude that both mobile phones and other communication devices may carry germs and antibiotic-resistant pathogens. Cleaning devices without antiseptics may favor microbial contamination and transmission in communities. |
. |