การคัดเลือกแบคทีเรียกลุ่มแบซิลลัสที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและยับยั้งราก่อโรคพืช

โดย: นางสาวสุชิณี ปั้นทรัพย์, นางสาวสุทธิญาณ์ ศักดิ์สมบูรณ์    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 2

อาจารย์ที่ปรึกษา: ผกากรอง วนไพศาล , มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: แบคทีเรียกลุ่มแบซิลลัส, สารลดแรงตึงผิวทางชีวภาพ, การยับยั้งราก่อโรคพืช, Bacillus sp., Biosurfactant, Antifungal activity
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus sp. ที่ผลิตสาร ลดแรงตึงผิวชีวภาพและออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราก่อโรคพืช สามารถคัดแยกแบคทีเรียแกรมบวก สร้างสปอร์ จานวน 42 สายพันธุ์ จากตัวอย่างดินทั้งหมด 13 แหล่ง เมื่อทดสอบคุณสมบัติการสร้างสาร ลดแรงตึงผิวชีวภาพด้วยการวัด emulsification index การวัดค่าการกระจายตัวของน้ามัน และคุณสมบัติการทาลายเม็ดเลือดแดง พบว่าแบคทีเรีย 36 สายพันธุ์ สามารถทาให้น้ามันพืชหรือเฮกเซนเกิดอิมัลชันได้ โดยสายพันธุ์ S12H02 และ S4H02 สร้างสารที่เกิดอิมัลชันกับน้ามันพืชและเฮกเซนได้สูงที่สุดตามลาดับ เมื่อวัดค่าการกระจายตัวของน้ามันพบว่าแบคทีเรีย 29 สายพันธุ์สามารถสร้าง สารลดแรงตึงผิวได้ โดย S6H01 S10H02 S2H03 และ S2N04 ทาให้เกิดการกระจายตัวของน้ามันสูงที่สุดตามลาดับ และมี 18 สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติทาลายเม็ดเลือดแดงได้ เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้ง เชื้อราก่อโรคพืชกลุ่ม Colletotrichum 3 ชนิดได้แก่ Colletotrichum gloeosporioides c1060, Colletotrichum gloeosporioides d0762 และ Colletotrichum capsici c1511 ด้วยเทคนิค agar well diffusion plate พบว่าสายพันธุ์ S2N04 และ S6H01 สามารถยับยั้งราได้ทั้งสามชนิด ส่วน S2H04 สามารถยังยั้ง C. gloeosporioides d0762 และ C. capsici c1511 เท่านั้น จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ S6H01 S2N04 และ S2H04 ที่คัดแยกได้นี้สามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวและยับยั้งราก่อโรคพืชได้ซึ่งสามารถนาไปพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้ต่อไป
abstract:
This project aims to isolate Bacillus sp. which capable to produce biosurfactant and fungicidal activity against plant pathogenic fungus. Oil spreading assay, emulsification activity toward vegetative oils and hexane as well as hemolytic activity were used to determine biosurfactant producing property. Among forty-two strains Gram-positive, spore forming isolated from 13 soil samples, cultivation broth of 36 isolates were able to emulsify vegetable oils and hexane. Twenty nine isolates can produce surfactant. Eighteen strains had hemolytic activity. S12H02 and S4H02 showed highest emulsification index. S6H01, S10H02, S2H03 and S2N04 showed highest oil spreading capacity. Antifungal property was also tested by agar well diffusion method. Plant pathogenic fungal including Colletotrichum gloeosporioides c1060, Colletotrichum gloeosporioides d0762 and Colletotrichum capsici c1511 were used as indicator strains. The results showed that S2N04 and S6H01 exhibit antifungal activity to all three fungal species. But S2H04 affected only C. gloeosporioides d0762 and C. capsici c1511. The results of this study demonstrated that S6H01, S2N04 and S2H04 isolates have both biosurfactant and antifungal properties which can be further developed for industrial applications.
.