การประเมินความไวของเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา ที่แยกได้จ่กผู้ป่วยต่อยาในกลุ่มคาร์บาพีเนม |
โดย: ศุภรัตน์ สุวิชาพาณิชย์, สกาววรรณ พงษ์สวัสดิ์ ปีการศึกษา: 2552 กลุ่มที่: 2 อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง , ปรีชา มนทกานติกุล , อุษา ฉายเกล็ดแก้ว ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา Keyword: ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา, ความไวต่อยาคาร์บาพีเนม, ยาปฏิชีวนะ, Pseudomonas aeruginosa, multidrug resistant, carbapenems, sensitivity |
บทคัดย่อ: เชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา นับเป็นแบคทีเรียแกรมลบที่มักก่อโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา ปัจจุบันมีอยู่อย่างจำกัด ได้แก่ ยากลุ่มเบตา-แลคแทม, ยากลุ่มคาร์บาพีเนม, ยากลุ่มอะมิโนกลัยโคซายด์, ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน, ส่วนยา กลุ่มอื่นๆ ได้แก่ ฟอสโฟมัยซิน และ โคลิสติน รวมถึงเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา มีกลไกการดื้อยาได้หลายกลไก ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อประเมินความไวของเชื้อนี้ต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่มคาร์บาพีเนมและกลุ่มอื่นๆ โดยได้นำเชื้อจากโรงพยาบาลต่างๆ ในแต่ละภาคในประเทศไทยที่ผ่านการคัดกรองโดยวิธีดิสก์ ดิฟฟิวชั่น ให้เป็นสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาหลายขนาน มาหาค่า MIC ด้วยวิธีไมโครไดลูชั่นตามเกณฑ์ของ CLSI 2009 ผลการศึกษาพบว่า อัตราการดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนมแต่ละตัวในภาพรวมทั้งประเทศ ได้ผลเป็นดังนี้ อิมิพิเนม มีอัตราการดื้อยาร้อยละ 30.0 เมอ-โรพิเนม ร้อยละ 60.5 โดริพีเนม ร้อยละ 31.6 หากพิจารณาในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ยาเมอโรพิเนม มีอัตราการดื้อยามากที่สุด ซึ่งมีอัตราการดื้อยาแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ดังนี้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 59.2, 86.7, 66.7, 6.7, และ 52.9 ตามลำดับ และหากพิจารณายาแยกเป็นแต่ละตัวในกลุ่มคาร์บาพีเนม จะพบว่าทั้ง อิมิพีเนมและเมอโรพีเนม ในภาคเหนือมีอัตราการดื้อยามากที่สุดถึงร้อยละ 40.0 และ 86.7 ตามลำดับ สำหรับโดริพีเนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการดื้อยามากที่สุดร้อยละ 51.8 ทั้งนี้ผลจากการศึกษานี้จะเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดนี้ต่อไป |
abstract: Pseudomonas aeruginosa, a gram negative bacteria, is one of the leading cause of important nosocomial infection. This organism shows a remarkable capacity to resist antibiotics. The increasing frequency of multidrug-resistant P. aeruginosa strains (MDR-PA) is concerning as efficacious antimicrobial options are severely limited. The objective of this study was to evaluate susceptibility of carbapenems and other antipseudomonal agents against MDR-PA clinical isolates all across Thailand. These isolates were collected from hospitals in five regions of Thailand and screened by disc diffusion method to the meet MDR criteria. Susceptibilty test were performed using broth microdilution method according to the Clinical and Laboratory Standards Institute Reference. The rates of drug resistance among MDR-PA isolates varied by geographic region. The results showed that the rate of imipenem-resistant MDR-PA was 30.0%. Meropenem-resistant MDR-PA was 60.5% and doripenem-resistant MDR-PA was 31.6%. The statistical analysis indicated that among carbapenems, MDR-PA showed the highest resistant rate to meropenem. The resistant rate of meropenem in the Central, Northern, Northeastern, Eastern, Southern regions were 59.2%, 86.7%, 66.7%, 6.7%, and 52.9%, respectively. Moreover, when considering resistant pattern divided by regions, imipenem and meropenem were founded at the highest resistant rates in the Northern region while doripenem resistance was founded mostly in the Northeastern region. In conclusion, our data could be useful for appropriate antibiotic selections in PA infections in Thailand. |
. |