การศึกษาฤทธิ์ของ OVS1 โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่เชื่อมกับ α-mangostin ในการรักษามะเร็งรังไข่แบบเฉพาะเจาะจง

โดย: ณัฐพล ใจสุภา, วันชุลี สโมสร    ปีการศึกษา: 2548    กลุ่มที่: 2

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี , อ้อมบุญ วัลลิสุต ,    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: OVS1 โมโนโคลนอล แอนติบอดี, มังคุด, ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งแบบเฉพาะเจาะจง, OVS1 monoclonal antibody, mangosteen, targeting therapy
บทคัดย่อ:
การศึกษาฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งแบบจำเพาะเจาะจงของ OVS1 โมโนโคลนอล แอนติบอดี(OVS1 MAb) ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนบนผิวเซลล์มะเร็งรังไข่ โดยทำการ เชื่อมกับสารบริสุทธิ์คือ α-mangostin (MG) ที่แยกได้จากมังคุดเพื่อเตรียมเป็น immunotoxin โดยเปรียบเทียบผลของ OVS1 MAb ที่เชื่อมกับสารสกัด α-mangostin (OVS1 MAb-MG) ต่อ human ovarian cancer cells (SKOV3) และ human endothelial cells (ECV3O4) ซึ่งใช้เป็น เซลล์เปรียบเทียบ สาร MG ที่ทดลองเตรียมจากการสกัดสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดโดย เครื่อง Soxhlet extractor ด้วยเมทานอล หลังจากนั้นนำมาผ่าน silica gel column chromatography และ HPLC สาร MG ที่ได้มีปริมาณร้อยละ 2.05 ของน้ำหนักผงเปลือกมังคุด ทำการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางพฤกษเคมีโดยใช้วิธีหาจุดหลอมเหลว, MS, IR, NMR และ ตรวจสอบเชิงปริมาณด้วยวิธี HPLC จากนั้นนำสารสกัดบริสุทธิ์ MG ที่ได้มาเชื่อมกับ OVS1 MAb โดยประยุกต์วิธีการต่าง ๆ ตามเอกสารที่มีผู้รายงานแล้ว โดยคำนวณผลการเชื่อมได้อัตราส่วนเป็น 0.45 : 1 โมลต่อโมล นำ OVS1-MG ที่เตรียมมาศึกษาฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งรังไข่ (SKOV3) โดยตรวจฤทธิ์การฆ่าเซลล์ด้วยวิธี MTT ได้ค่า EC50 ที่ทดสอบด้วย MG และ OVS1-MG เป็น 3.5 และ 29.6 μg/ml ตามลำดับ สำหรับ ECV3O4 ซึ่งเป็นเซลล์เปรียบเทียบได้ค่า EC50 เป็น 3.4 และ 42.8 μg/ml ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านสัณฐานวิทยาของเซลล์ พบว่าเซลล์ SKOV3 ที่ถูกจับด้วย immunotoxin มีลักษณะการตายแบบ apoptosis ในขณะที่เซลล์ ECV3O4 ไม่พบผลของปฏิกิริยา จากการศึกษานี้สรุปว่า OVS1-MG มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งแบบจำเพาะเจาะจง การทดลองนี้เป็นก้าวแรกในการนำ MG มาเชื่อมต่อกับ OVS1 MAb ดังนั้นจึงควรที่จะพัฒนาวิธีการเตรียม immunotoxin (OVS1-MG) ให้มีศักยภาพ เพื่อหวังผลให้นำไปใช้ได้จริงในการรักษา
abstract:
OVS1 monoclonal antibody (OVS1 MAb), specifically recognized the surface antigen of ovarian cancer, was conjugated with α-mangostin (MG) isolated from mangosteen for studying the targeting anticancer effect as immunotoxin. The activity was determined on human ovarian cancer cells (SKOV3) comparing to human endothelial cells (ECV3O4) as negative control cells. MG was prior extracted from the dried powder of mangosteen peels, using methanol in Soxhlet extractor. The crude extract was further purified by silica gel column chromatography and HPLC. The yield of MG was obtained at 2.05% of dried powder (w/w). The melting point, MS, IR, NMR were performed to determine the characteristic of MG. OVS1 MAb was conjugated with MG by applying combination of documented methods described previously. After conjugation OVS1 to MG, the ratio of MG per OVS1 MAb was calculated to be 0.45 : 1 mol/mol. MTT cytotoxic assay was performed to detect the activity of OVS1-MG, the EC50 values for the MG and OVS1-MG were at 3.5 and 29.6 μg/ml against SKOV3 cells, and 3.4, 42.8 μg/ml on ECV3O4 cells respectively. Moreover, the morphological changes of cancer cells were determined by incubating OVS1-MG with cells and observing on inverted fluorescence microscope. The cell death, supposing to be apoptotic cells, was demonstrated after binding of conjugated OVS1-MG molecules on targeted SKOV3 cells but not on ECV3O4 control cells. The potential of conjugated OVS1-MG as immunotoxin could be possibly effective for future application. Intensive study for improving the techniques of conjugation for better results has to be performed for truly use as novel targeting drug against ovarian cancer.
.