การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพที่พบประจำบนผิวหนัง ของน้ำคั้นแห้งหอมแดงและหอมใหญ่ |
โดย: พรชนก นันตะเสนีย์, ภัทริดา จันมะโน ปีการศึกษา: 2553 กลุ่มที่: 19 อาจารย์ที่ปรึกษา: พร้อมจิต ศรลัมพ์ , ม.ล.สุมาลย์ สาระยา , นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ Keyword: หอมใหญ่, หอมแดง, ฤทธิ์ต้านจุลชีพ, Allium cepa, Allium ascalonicum, antimicrobial activity |
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพที่ก่อโรคผิวหนังของน้ำคั้นหัวหอมสองชนิด ได้แก่ หอมใหญ่ (Allium cepa L.,หรือ AC)และหอมแดง (Allium ascalonicum L. หรือ AA) ซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาต่อเป็นเครื่องสำอาง หรือ ยาภายนอก ใช้ค่า Extractive values และ Total Ash ในการควบคุมคุณภาพทางกายภาพของวัตถุดิบ แยกคั้นน้ำหัวหอมทั้งสองด้วยเครื่องสกัดกาก ทำให้น้ำคั้นแห้งด้วยความเย็นโดยเครื่อง Freeze dryer (AAF และ ACF) และความร้อนโดยเครื่อง Rota evaporator (AAR และ ACR) ใช้วิธีรงคเลขผิวบาง(TLC) ในการตรวจคุณภาพทางเคมี พบว่า ระบบนำพาที่เหมาะสม คือ Chloroform: Diethyl ether: Methanol (4.5:5:0.5) ,Toluene: Ethyl acetate: Formic acid (12:7:0.5) และ Hexane: Ethyl acetate (8:2)จากนั้นนำน้ำคั้นแห้งมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพด้วยวิธี Disc diffusion ใช้เชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิดคือ Staphylococcus aureus ATCC 6538, S. epidermidis และ Escherichia coli ATCC 25922 โดยใช้เทียบกับฤทธิ์ของ Neomycin Polymyxin B และ Gramicidin และใช้ Clotrimazole สำหรับเชื้อ Candida albicans ATCC 10231 พบว่า AAF และ ACF มีฤทธิ์การต้านจุลินทรีย์ ที่ใช้ทดสอบทุกชนิดยกเว้นเชื้อ E. coli ค่า MIC ต่อ S. aureus, S. epidermidis และ C. albicans เท่ากับ 30 และ 15 มก./มล., 30 และ 15 มก./มล., 15 และ 30 มก./มล. ตามลำดับ พบว่า AAR และ ACR มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus โดยมีค่า MIC เท่ากันคือ 375 มก./มล. นอกจากนี้ AAR ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ S. epidermidis โดยมีค่า MIC เท่ากับ 375 มก./มล. จากการทดลองสรุปได้ว่าน้ำคั้นแห้งโดยการใช้ความเย็น มีลักษณะสี และฤทธิ์ในการต้านจุลชีพได้ดีกว่าการใช้ความร้อน แต่มีต้นทุนสูงกว่า ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตขั้นต่อไปจึงควรคำนึงถึงประสิทธิภาพควบคู่ไปกับความเหมาะสมของต้นทุนการผลิต. |
abstract: The aim of this project is to study the antimicrobial activity of the Allium ascalonicum (AA) and Allium cepa (AC) dried juices on skin normal flora that could be developed to be used in cosmetics or topical medicines. The physical quality of raw materials is controlled by the extractive values and total ash. The selected raw materials were squeezed by juicer and dried by two methods: cold condition by freeze dryer (AAF and ACF) and hot condition by rota evaporator (AAR and ACR). Using TLC to analyse the chemical quality, the suitable systems were Chloroform: Diethyl ether: Methanol(4.5:5:0.5), Toluene: Ethyl acetate: Formic acid(12:7:0.5) and Hexane: Ethyl acetate(8:2). The antimicrobial activities on Staphylococcus aureus ATCC 6538, S. epidermidis, Escherichia coli ATCC 25922 and Candida albicans ATCC 10231 were measured by using disc diffusion. The positive control for C.albicans was Clotrimazole and for others were Neomycin, Polymyxin B, Gramicidin. Both AAF and ACF inhibited all above microbials except E.coli. MIC of AAF and ACF on S. aureus, S. epidermidis and C. albicans were 30 and 15 mg/ml., 30 and 15 mg/ml., 15 and 30 mg/ml., respectively. AAR and ACR inhibited S. aureus and their MIC were equal to 375 mg/ml. In addition, AAR inhibited S. epidermidis and its MIC was 375 mg/ml. In conclusion, dried juices that produced by cold condition had better appearance, color, and antimicrobial activity than hot condition, but much more expensive. Consequently, both effectiveness and suitable cost should be considered. |
. |