ฤทธิ์สงบระงับของสมุนไพรไทยขมิ้นอ้อย 2 : การทดสอบความคงตัวของสารสกัดต่อการเพิ่มระยะเวลานอนหลับในหนูถีบจักร |
โดย: นายปรัชญา ประมูล,นายไพโรจน์ โอสถาภิรัตน์
ปีการศึกษา: 2546 กลุ่มที่: 19 อาจารย์ที่ปรึกษา: เพ็ญโฉม พึ่งวิชา , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา Keyword: ขมิ้นอ้อย, ฤทธิ์สงบระงับ,การทดสอบความคงตัว , Curcuma zedoaria Roscoe, sedative effect, stability test |
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความคงตัวของสารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยซึ่งมีฤทธิ์สงบระงับในหนูถีบจักร โดยสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยด้วยเอทานอล 80%ด้วยการหมักเป็นเวลา 7 วัน นำไปกรองแล้วนำส่วนใสมาระเหยแห้งด้วย rotary evaporator การพิสูจน์ฤทธิ์สงบระงับทำโดยวัดการยืดระยะเวลานอนหลับในหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้หลับด้วยยา pentobarbital ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักหนู โดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง พบว่าสารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยขนาด 0.25, 0.5 และ 1 กรัม/ กิโลกรัมน้ำหนักหนู โดยป้อนทางปาก สามารถยืดระยะเวลานอนหลับอย่างนัยสำคัญทางสถิติจากกลุ่มควบคุม 42.9?11.6 นาที เป็น 69.0?10.7 นาที, 70.8?10.4 นาที, 74.6?13.2 นาที ตามลำดับ (p<0.05) ในการทดสอบความคงตัว ทำการสกัดและเก็บสารสกัดดังนี้ ตัวอย่างที่หนึ่ง (I) เก็บไว้ในภาชนะปิดที่อุณหภูมิห้อง ตัวอย่างที่สอง(II) เก็บไว้ในตู้เย็น(2-8 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 2 เดือน หลังจากการสกัดครั้งแรก 1 เดือนทำการสกัดใหม่อีกครั้งด้วยวิธีการเดิม จะได้ตัวอย่างที่สาม (III) เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง และตัวอย่างที่สี่(IV) เก็บในตู้เย็น เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นจึงทำการสกัดครั้งสุดท้ายได้ตัวอย่างที่ห้า(V) แล้วจึงสังเกตการเปลี่ยนสี ลักษณะทางกายภาพ เปรียบเทียบ Thin Layer Chromatography (TLC) และทดลองฤทธิ์ยืดระยะเวลานอนหลับในหนูถีบจักร พบว่าตัวอย่างทั้งหมดไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทางกายภาพ ไม่พบความแตกต่างของปริมาณสาร curcuminoids เมื่อวัดความเข้มข้นด้วย TLC Densitometer รวมทั้งฤทธิ์สงบระงับในหนูถีบจักรก็ไม่แตกต่างกันด้วย (p>0.05) ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่า สารสกัดขมิ้นอ้อยมีความคงตัวทั้งลักษณะทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพ เมื่อเก็บสารสกัดไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 เดือน |
abstract: The main objective of this study was to investigate the stability of Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe rhizome extract and its effect on sleeping time in mice. The dry powdered rhizome was macerated with 80% ethanol for 7 days. After filtration, the filtrate was evaporated under reduce pressure using a rotary evaporator. The extract was administered orally at dose 0.25, 0.5 and 1.0 g/kg and showed significantly prolong action of sleeping time in pentobarbital-induced mice from 42.9?11.6 minutes in control to 69.0?10.7, 70.8?10.4 and 74.6?13.2 minutes, respectively (p<0.05). The extract was then separated, the first(I) was stored in closed container at room temperature, while the other(II) was stored in a refrigerator (2-8?C) for two months. After a month, the certain amount of same specimen was extracted using the same procedure as mentioned above, the third sample (III) was kept in room temperature and the other one(IV) was kept in a refrigerator for one month. After finishing extraction of the last sample(V), the stability tests of the extracts were carried out. Neither the physical properties nor the content of total curcuminoids observed by TLC Densitometer of all samples showed significantly difference. The sedative activity in mice of various extracts were also not significantly different (p>0.05). These results suggested that the ethanol extract of Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe rhizome was stable within two months in room temperature. |
. |