การศึกษาตำรับสมุนไพรระงับกลิ่นกาย |
โดย: อุษา พื้นผา,ยุคล จันทเลิศ ปีการศึกษา: 2544 กลุ่มที่: 19 อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย Keyword: สมุนไพรระงับกลิ่นกาย, ไคโตซาน, ชะเอมเทศ , herbal roll - on, chitosan, licorice |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษการศึกษาตำรับสมุนไพรระงับกลิ่นกายมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับ Roll-on ที่ช่วยระงับกลิ่นกายและช่วยให้ผิวใต้วงแขนขาว โดยใช้ไคโตซาน,สารสกัดบัวบกและชะเอมเทศ สารสกัดบัวบกมีสารสำคัญ คือ asiaticoside ซึ่งมีรายงานว่ามีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ สารสกัดชะเอมเทศมีสาร glabridin ซึ่งมีรายงานว่ามีฤทธิ์เป็น whitening agent เมื่อได้ตำรับ Roll-onระงับกลิ่นกายที่เหมาะสมแล้วนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพการระงับกลิ่นกายเป็นเวลา 5 วัน โดยในแต่ละวันที่ใช้จะให้อาสาสมัครดมกลิ่นกายของตนเองที่เวลาหลังการใช้ 4 และ10 ชั่วโมง พบว่าที่เวลาหลังการใช้ 4 ชั่วโมง สามารถลดระดับกลิ่นกายได้ 35.81% แต่ที่เวลาหลังการใช้ 10 ชั่วโมงสามารถลดได้ 10.32% สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพในการลด melanin โดยให้อาสาสมัครทาสมุนไพรระงับกลิ่นกายซึ่งในตำรับมีระดับความเข้มข้นของสารสกัดชะเอมเทศ0.06%,0.08%และ0.10% โดยทาที่บริเวณท้องแขนในตำแหน่งเดิมเป็นประจำทุกเช้าและก่อนนอนเป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยระหว่างการทดลองมีการวัดค่า melanin ด้วยเครื่อง mexameter ที่เวลา 0,3 และ 6 สัปดาห์ หลังการใช้ผลิตภัณฑ์6 สัปดาห์พบว่าผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่มีระดับความเข้มข้นของชะเอมเทศ 0.10%เท่านั้นที่สามารถลด melanin ได้มากกว่าเจลเบสอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จากการทดลองนี้จึงทำให้ทราบว่าการศึกษาตำรับสมุนไพรระงับกลิ่นกายโดยมีส่วนผสมของchitosan 1% สามารถระงับกลิ่นกายดีพอควร (36%) ในช่วง 4 ชั่วโมงหลังการใช้ ดังนั้นควรใช้ chitosan > 1% และพัฒนาสูตรตำรับที่สามารถออกฤทธิ์ระงับกลิ่นกายได้ดีขึ้น หรือผสมสารระงับกลิ่นกายอื่นร่วม ส่วนประสิทธิภาพด้านการทำให้ผิวขาว ควรใช้ความเข้มข้นของสารสกัดชะเอมเทศอย่างต่ำ 0.10% จึงจะเห็นผล |
abstract: A study of herbal roll - on is a special project to develop a roll - on for deodorant and white armpits. The products contain chitosan, Centella asiatica extract and licorice extract. The active substance of C. asiatica extract is asiaticoside which is reported to be antiinflammatory agent. The active substance of licorice extract is glabridin which is a whitening agent. After choosing the best formulation, the volunteers applied roll - on for 5 days. In each day, the armpits of volunteers were sniffed by the volunteers after applying roll - on for 4 and 10 hours. After 4 hours of using, 35.81% deodorizing activity was observed but after 10 hours only 10.32% of the activity was found. For depigmentation test, the roll - on containing 0.06%, 0.08% and 0.10% licorice extract were applied on forearm in the morning and before bedtime everyday for 6 weeks. Melanin value was detected by mexameter at 0, 3 and 6 weeks. After 6 weeks using roll-on, only the preparation containing 0.10% licorice extract significantly decreased (P<0.05) melanin value compared to the base formulation . From this study, it was shown that a herbal roll - on containing 1% chitosan was a moderate deodorant with 36% deodorizing activity after 4 hours of using . So, the roll - on containing chitosan >1 % should be used in the preparation. Furthermore , other deodorizing agents should be added in the preparation to get the better deodorizing activity. For whitening activity, the preparation should contain licorice extract more than 0.10%. |
. |