ผลของสารต่อการเจริญเติบโตต่อการขยายพันธุ์ขมิ้นชัน โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ |
โดย: ปรภัสสรา พงษ์พันธุ์พิศาล,ธราณี คงทะเล ปีการศึกษา: 2542 กลุ่มที่: 19 อาจารย์ที่ปรึกษา: สมภพ ประธานธุรารักษ์ , วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล , พร้อมจิต ศรลัมพ์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ Keyword: , |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของกวาวเครือขาวโดยใช้ฐานข้อมูลNAPRALERT,MEDLINEและฐานข้อมูลจากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล คำที่ใช้สืบค้น คือ Pueraria candollei var. mirifica, P. mirifica และชื่อสารที่พบในกวาวเครือขาว เช่น genistein, miroestrol เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลจากตำรายาแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 5 เล่มและตำรายาแผนโบราณอื่น ๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ พบว่าในตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรได้แบ่งกวาวเครือออกเป็น 4 ชนิด คือ กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง กวาวเครือดำและกวาวเครือมอ กวาวเครือขาวมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Pueraria candollei var. mirifica ส่วนกวาวเครือแดงมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Butea superba สำหรับกวาวเครือดำและกวาวเครือมอนั้นในปัจจุบันยังไม่ทราบชื่อทางพฤกษศาสตร์ สรรพคุณของกวาวเครือขาวในตำรายาโบราณใช้เป็นยาอายุวัฒนะในหญิงและชายสูงอายุ นอกจากนี้ระบุไว้ชัดเจนว่าคนหนุ่มสาวไม่ควรรับประทาน องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ที่พบในหัวกวาวเครือขาวมีสูตรโครงสร้างเป็น isoflavonoids 14 ชนิด ในจำนวนนี้มี 5 ชนิด คือ genistein, genistin, daidzein, daidzin และ coumestrol ซึ่งสารเหล่านี้จัดเป็นไฟโตเอสโตรเจนที่มีความแรงต่ำคล้ายกับที่พบในถั่วเหลืองแต่ไฟโตเอสโตรเจนที่เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในกวาวเครือขาวคือ miroestrol ซึ่งแสดงฤทธิ์เป็น estrogen agonist ที่มีความแรงสูง ดังนั้นการใช้กวาวเครือขาวในหญิงวัยเจริญพันธุ์น่าจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศที่มีตามธรรมชาติโดยเฉพาะการมีประจำเดือน ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นมะเร็งมดลูกและมะเร็งเต้านมยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากอาจกระตุ้นก้อนเนื้องอกชนิดที่มีความไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการเจริญเติบโตขยายขนาดได้ นอกจากนี้ได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ตัวอย่างโฆษณาผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวจำนวน 12 รายการ พบว่ามีการใช้ข้อความในการโฆษณาเกินความเป็นจริง และยังขาดความน่าเชื่อถือทางวิชาการแบ่งได้เป็น 6 ประเด็น เช่น อ้างว่า”ผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวผ่านการสกัดสารพิษต่างๆออก จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัย” เป็นต้น ดังนั้นการจะนำกวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์เป็นยายังต้องการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมทั้งในด้านเภสัชวิทยาและการทดลองในคน นอกจากนี้จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าไม่ก่อความเป็นพิษในระยะยาว เพื่อความเชื่อมั่นในการนำกวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัย |
abstract: The objective of this special project is to review available evidences about the effectiveness and safety of Pueraria candollei var. mirifica. Data sources are NAPRALERT, MEDLINE, and database of Medicinal Plant Information center, Mahidol University by using key words: P.candollei var. mirifica, P. mirifica, and chemical substances of P.candollei var. mirifica such as genistein, miroestrol, etc. The five official Thai traditional recipes and other Thai traditional recipes were also searched for ethnomedical data. According to the Luang Anusarnsoonthorn’s recipe, there are four kinds of Kwao, namely white, red, black, and “mor”Kwao. White Kwao is identified as Pueraria candollie var. mirifica and Red Kwao as Butea superba. The botanical name of Black and “mor” Kwao are still unknow. The ethnomedical indication documented in the recipe is for the rejuvenation of elderly. In addition, it was clearly stated that Kwao should not be taken by young people. The tuberous root of P.candollei var. mirifica contains at least 14 isoflanoids. Genistein, genistin, daidzein, daidzin and coumestrol are five of these isoflavoniods are low potency phytoestrogens. These five isoflavoniods are also found in soy bean. P.candollei var. mirifica exhibited strong estrogenic activity due to miroestrol, a potent estrogen agonist. Therefore, the use of P.candollei var. mirifica in fertile women should affect menstrual cycle and also increase risk for hormone – dependent cancer. Furthermore, we had corrected and analyzed 12 brochures of P.candollei var. mirifica products. It was found that there are 6 overclaimed issue such as “there no toxic substances in P.candollei var. mirifica product, therefore assure the safety of this product”. Therefore, further researches on pharmacological and clinical study are required before launching the product as a therapeutic agent. In addition, long term toxicity study is essential to confirm the safety of P.candollei var. mirifica |
. |