การพัฒนาระบบนำส่งสารสกัดใบบัวบก ในรูปแบบไขมันขนาดนาโน |
โดย: นางสาวชนิกานต์ อินทรนุกูลกิจ,นางสาวนิยุตา ตังคณานุรักษ์ ปีการศึกษา: 2560 กลุ่มที่: 18 อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , บุญธิดา มระกูล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ทรานสเฟอร์โซม, นาโนพาร์ทิเคิล, ใบบัวบก, การสมานแผล, Transfersomes, nanoparticle, Centella asiatica, wound healing |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบนำส่งสารสกัดใบบัวบกในรูปแบบของนาโนพาร์ทิเคิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคงตัวให้กับสารสกัดใบบัวบก โดยในการศึกษานี้ได้พัฒนานาโนพาร์ทิเคิลในรูปแบบของทรานสเฟอโซม ที่มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง และสามารถซึมผ่านเข้าสู่ผิวได้ดี ทรานสเฟอร์โซมถูกเตรียมด้วยวิธี ethanol injection และทำการพัฒนาสูตรตำรับโดยศึกษาอิทธิพลของ Phospholipid, Edge activator (EA), ระยะเวลาในการ sonication และอิทธิพลของ cholesterol ต่อขนาดอนุภาค การกระจายตัวของขนาดอนุภาค ความยืดหยุ่น และโครงสร้างผลึก ผลการศึกษาพบว่า phospholipid ชนิดที่เหมาะสมในการพัฒนาตำรับคือ Phospholipon 90G เนื่องจากให้ขนาดอนุภาคที่เล็กและสม่ำเสมอ โดยระยะเวลา sonication ที่เหมาะสมคือ 60 วินาที ในการศึกษานี้ Tween® 80, Tween® 20 และ Eumulgin® SG ถูกเลือกใช้เป็น EA จากศึกษาพบว่าชนิดของ EA ส่งผลต่อขนาดของอนุภาคที่เตรียมได้ โดยพบว่าทรานสเฟอโซมที่เตรียมจาก Tween® 80 ให้อนุภาคขนาดเล็กที่สุด และมีค่า PDI ต่ำที่สุด สำหรับ cholesterol พบว่าเมื่อเติมลงในตำรับที่ใช้ Tween® 80 จะทำให้ขนาดอนุภาคเล็กลง และมีค่าการกระจายตัวของอนุภาคไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ตำรับอื่นๆ มีขนาดอนุภาคและการกระจายตัวของอนุภาคเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาความยืดหยุ่นของทรานสเฟอโซมที่เตรียมจาก EA ต่างชนิดกันพบว่าทรานสเฟอโซมที่เตรียมจาก Tween® 20 มี elasticity สูงที่สุด เมื่อนำสารสกัดใบบัวบกใส่ในตำรับพบว่าทุกตำรับมีขนาดอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น (p<0.05) ผลจาก Differential scanning calorimetry (DSC) และ x-ray diffraction ยืนยันทรานสเฟอโซมอยู่ในรูปแบบ amorphous การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์พบว่าทรานสเฟอโซมทุกตำรับที่ความเข้มข้น 0.05% มีค่าการรอดชีวิตมากกว่า 80% ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการสมานแผลพบว่าตำรับทรานสเฟอโซมที่มี Tween® 20 สามารถลดพื้นที่บาดแผลได้ดีที่สุดใน 24 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) |
abstract: The study aimed to develop a delivery system based on nanotechnology to enhance the efficacy and stability of Centella asiatica extract (CAE). In this study, transfersomes were developed due to their deformable or elastic nature and ability to permeate the skin. Transfersomes were prepared by ethanol injection method. The influence of phospholipid, edge activators (EAs), sonication time and cholesterol on size, size distribution (PDI), flexibility and polymorphism of transfersomes was evaluated. The obtained results showed that transfersomes prepared from Phospholipon 90G provided the smallest particle size with the narrow size distribution. The 60-second sonication time was sufficient to reduce the particle size of transfersomes. Three different EAs were chosen including Tween® 80, Tween® 20 and Eumulgin® SG. It was found that transfersomes containing Tween® 80 showed the smallest particle size and the lowest size distribution. The addition of cholesterol decreased the size of transfersomes containing Tween® 80 but slightly increased the size of transfersomes containing Tween® 20 and Eumulgin® SG. Transfersomes prepared from Tween® 20 and cholesterol exhibited the highest elasticity. Incorporation of CAE increased the size of transfersomes. Regarding differential scanning calorimetry and X-ray diffraction analysis, all developed transfersomes were amorphous. Concerning the cytotoxicity on human skin fibroblast, 0.05% transfersomes showed the percent viability higher than 80%. As such, this concentration was further used for wound healing assay. After 24-hr treatment, transfersomes prepared from Tween® 20 significantly reduced the wound area compared to other formulations. |
. |