การพัฒนายาอมจากสารสกัดใบรางจืด

โดย: น.ส.จิรัชญา เตชะพิริยะกุล ,น.ส.จุฑารัตน์ วัชรสุวรรณเสรี    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 18

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยนุช โรจน์สง่า , ปองทิพย์ สิทธิสาร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: รางจืด, ยาเม็ดอม, เลิกบุหรี่, Thunbergia laurifolia Linn. , Lozenge, Quit smoking
บทคัดย่อ:
รางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้มีรายงานการวิจัยของสารสกัดน้าจาก ใบรางจืดในการเพิ่มการหลั่งโดพามีนซึ่งเหมือนกับการกระตุ้นโดยแอมเฟทามีนส่งผลช่วยในการ ลดการติดสารเสพติดต่างๆได้ ดังนั้นโครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้ารับยาเม็ดอม จากสารสกัดใบรางจืดเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งส้าหรับการเลิกบุหรี่ การควบคุมคุณภาพสารสกัดใบ รางจืดโดยใช้วิธี Thin-layer chromatography (TLC) พบว่าสารสกัดรางจืดมีลักษณะลายพิมพ์ TLC ตรงกับ authentic sample มีแถบสารที่ตรงกับสารมาตรฐาน caffeic acid และมีปริมาณ ฟีนอลิครวมโดยวิธี Folin-ciocalteu 17.64±0.39 กรัม gallic acid ต่อสารสกัด 100 กรัม และมี ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม โดยวิธี Aluminium chloride 2.95±0.00 กรัม quercetin ต่อสารสกัด 100 กรัม จากการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picryl-hydrazyl (DPPH) scavenging assay ได้ค่า EC50 เท่ากับ 21.28+1.54 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในการพัฒนายาเม็ด อมใช้ปริมาณสารสกัด 7.5 มิลลิกรัมต่อ 1 เม็ด โดยใช้ tapioca starch และaerosil เป็นสารช่วยใน ต้ารับซึ่งต้ารับที่ได้มีความคงตัวดี โดยมีลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะภายนอก ความแปร ผันของน้าหนัก ความแข็ง ความหนา ความกร่อน อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยปริมาณ ฟีนอลิครวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมในยาเม็ดอมรางจืดเมื่อคิดเป็นปริมาณร้อยละที่ระบุใน ฉลากเท่ากับ 97.7% และ100.0% ตามล้าดับ
abstract:
Thunbergia laurifolia Linn. or “Rang Jurd” (RJ) is a medicinal herb that widely uses in Thailand, recently. An aqueous leaf extract of RJ has been reported to increase dopamine release in the same manner as amphetamine which could be used to treat drug addiction. The aim of this study was to develop lozenge from aqueous leaf extract of RJ which may be an alternative treatment to quit smoking. The quality control of the RJ leaf extract by Thin-layer chromatography showed similar TLC fingerprints compared to authentic sample with phenolic compound corresponding to caffeic acid. Total phenolic content by Folin-ciocalteu method was 17.64±0.39 gram gallic acid equivalent per 100 gram extract and total flavonoid content by Aluminium chloride method was 2.96±0.00 gram quercetin equivalent per 100 gram extract. Antioxidant activity using 1,1-diphenyl-2-picryl-hydrazyl (DPPH) scavenging assay expressed as EC50 was 21.28+1.54 microgram/milliliter. The developed formula contained 7.5 milligram of RJ extract per 1 lozenge, which tapioca starch and aerosil were used. Physical and chemical properties of the RJ lozenge in term of appearance, weight variation, hardness, friability, thickness were within acceptable criteria. Percentage of labeled amount of total phenolic and flavonoid contents in RJ lozenge were 97.7% and 100.0%, respectively.
.