การพัฒนาแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร (2) |
โดย: ศุภิกา พนมธนศักดิ์, อุสรีย์ เอี่ยมสุรีย์ ปีการศึกษา: 2554 กลุ่มที่: 18 อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , อัญชลี จินตพัฒนกิจ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ Keyword: สารสกัดลูกประคบ, แผ่นแปะไฮโดรเจล, ไคโตแซน, ขมิ้นชัน, ไพล, Herbal compress extract, Hydrogel patch, Chitosan, Turmeric, Zingiber cassumunar |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นแปะไฮโดรเจลจากสารสกัดลูกประคบ การศึกษานี้เริ่มจากการสกัดสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบของลูกประคบซึ่งประกอบด้วยขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้บ้าน มะกรูด และหนาด ด้วย 95%เอทานอลโดยวิธีการสกัดแบบไหลผ่าน ส่วนมะขามและส้มป่อยใช้วิธีต้มน้ำสกัด หลังจากทำให้แห้งทำการตรวจหาสารสำคัญด้วยวิธี Thin layer chromatography เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานของสมุนไพรแต่ละชนิด แผ่นแปะไฮโดรเจลของสารสกัดลูกประคบเตรียมด้วยวิธี solvent casting โดยเตรียมสารสกัดลูกประคบให้อยู่ในรูปของอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ ก่อนนำไปผสมกับสารละลายไคโตแซน ในอัตราส่วน 1:4 โดยน้ำหนัก แผ่นฟิล์มที่เตรียมได้ทำการประเมินในรูปของความหนา ความยืดหยุ่น และความแข็งแรง จากการศึกษาพบว่าในลูกประคบ 1 ลูก ให้ปริมาณสารสกัดเอทานอล 16.72 %โดยน้ำหนัก และสารสกัดน้ำ 19.60 %โดยน้ำหนัก สารสกัดเอทานอล และสารสกัดน้ำมีสารสำคัญเช่นเดียวกับสารมาตรฐาน จากการเตรียมแผ่นแปะไฮโดรเจลที่ใช้ไคโตแซนเป็นสารก่อฟิล์ม กลีเซอรีนเป็นสารเพิ่มความยืดหยุ่น และฟอร์มาลดีไฮล์หรือกลูตารัลดีไฮล์เป็นสารเชื่อมโยงพบว่า ตำรับที่มีอิมัลชันของสารสกัดลูกประคบมีความหนาและความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น แต่มีความแข็งแรงลดลงเมื่อเทียบกับตำรับที่ไม่มีอิมัลชันของสารสกัดลูกประคบและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างตำรับที่ใส่อิมัลชันของสารสกัดลูกประคบพบว่าตำรับที่ไม่มีสารเชื่อมโยงมีความหนาและความยืดหยุ่นมากที่สุด ความแข็งแรงของทั้งสามตำรับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าตำรับใดเป็นตำรับที่ดีที่สุด จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ตำรับที่ดีที่สุดต่อไป |
abstract: The aim of this special project was to develop hydrogel patches from the herbal compress extract. In this study the herbal compress composed of 7 kind of herbs. According to their chemical content, Curcuma longa L., Zingiber cassumunar Roxb., Cymbopogon citratum (DC.) Stapf., Citrus hystrix DC., and Blumea balsamifera DC. were extracted by percolation using 95% ethanol whereas Tamarindus indica L. and Acacia concinna (Willd.) DC. were extracted by decoction. After drying, qualitative analyses of the chemical compounds in the herbal compress extract were performed by Thin Layer Chromatography compared to reference standards. The hydrogel patches of herbal compress extract were prepared by solvent casting method. The herbal compress extract was first formulated into o/w emulsions before incorporating into the chitosan solution in the ratio of 1 : 4 w/w. Properties of films were determined in terms of thickness, tensile strength and elasticity. It was found that, yields of ethanol extract from herbal compress was 16.72 %w/w and water extract was 19.60 %w/w. The hydrogel patches using chitosan as film former, glycerin as plasticizer and formaldehyde or glutaraldehyde as cross-linking agents when added emulsion of herbal compress extract showed thicker, more elastic and less rigid properties than blank patches. Amongst these, the thickness and elasticity of the patches without cross-linking agents were higher than that the patches with cross-linking agents. No difference in tensile strength of three formulations was observed. However, additional studies for the best formulation should be performed further. |
. |