สํารวจพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสําหรับโรคหวัดของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร |
โดย: นภาลัย ไชยพรม, นีรยา วงศ์ศรีตรัง ปีการศึกษา: 2547 กลุ่มที่: 18 อาจารย์ที่ปรึกษา: อโนชา อุทัยพัฒน์ , พร้อมจิต ศรลัมพ์ , วิชิต เปานิล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา Keyword: ยาปฏิชีวนะ, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, โรคหวัด, Antibiotics, Herbal products, Cold |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสําหรับโรคหวัดของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร ทําโดยเลือกนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โดยใช้วิธี Convenient Sampling เพื่อเลือกผู้ให้สัมภาษณ์จํานวน 156 คน ให้ตอบคําถามตามแบบสัมภาษณ์ที่ได้สร้างขึ้น ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 78.8 ของผู้ให้สัมภาษณ์เคยเป็นโรคหวัด ในด้านความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ความรู้ที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบผิดมากที่สุด คือ ไม่ทราบว่ายาปฏิชีวนะควรกินติดต่อกัน 5-7 วัน ถึงร้อยละ 48.8 ในด้านพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบบ่อยที่สุดในผู้ให้สัมภาษณ์ คือ เคยลืมกินยาปฏิชีวนะ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88.2 และมีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจําเป็นหรือไม่เหมาะสม เช่น น้ํามูกใสและคัดจมูก คิดเป็น ร้อยละ 29.4 ส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในการรักษาโรคหวัด พบว่ามีผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรคิดเป็น ร้อยละ 28.4 และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีการใช้มากที่สุด คือ ฟ้าทะลายโจร รองลงมาคือ มะแว้ง ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า โรคหวัดเป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่วนมากอาการไม่รุนแรง ผู้ให้สัมภาษณ์มีการใช้ยาเกินความจําเป็น, มีความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาที่ยังไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการดื้อยามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมีการใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสม มีการให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะและยาสมุนไพรสําหรับโรคหวัด รวมทั้งควรส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการหวัดในเบื้องต้น จะทําให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจําเป็น ช่วยป้องกันการดื้อยาและยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย |
abstract: The aim of this special project is to evaluate usage of antibiotics and herbal products for cold among undergraduate students in Bangkok. 156 undergraduate students were sampled from five universities using Convenient Sampling to answer questionnaires. The result showed that 78.8% of them have had a cold in the past six months. With regard to knowledge of antibiotics, it was found that the question most incorrectly answered was the use of antibiotics continuously for 5-7 days, which made up 48.8%. Regarding usage behaviors of using antibiotics, 88.2% of incorrect behavior was forgetting to take antibiotics. Besides, it was found that 29.4% use antibiotics more than necessary or inappropriately for rhinorrhea or nasal congestant. 28.4% have used, herbal products for cold and the most favorite herbal product was Andrographis paniculata(Bum.f.)Nees, while the second was Solanum indicum L.. In summary there is prevalence of cold which is mostly not serious. Improper knowledge and usage may lead of antibiotics to drug resistance. Information about antibiotics and herbal products for cold should therefore be made known and the use of herbal products for relief of primary symptoms should be encouraged. These will lead to reduction in inappropriate use of antibiotics, which would help prevent drug resistance and also decrease cost of medicine. |
. |