การพัฒนาตารับเฉพาะที่ประกอบด้วยสารสกัดจากพืชสาหรับโรคในเยื่อบุช่องปาก |
โดย: นายณัฐนนท์ ไชยสอน, นายณัฐพงษ์ โพธิ์ดี ปีการศึกษา: 2559 กลุ่มที่: 17 อาจารย์ที่ปรึกษา: พิมลพรรณ พิทยานุกุล , จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: สารสกัดแกนในเม็ดมะม่วง, กรดแทนนิก, สารสกัดพญายอ, Candida albicans, ตารับเฉพาะที่, Mango seed kernel extract, Tannic acid, Clinacanthus nutans extract, Candida albicans, Topical formulation |
บทคัดย่อ: โรคติดเชื้อราในช่องปากมักเกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะติดเชื้อราแคนดิดามักเกี่ยวข้องกับปัจจัยเฉพาะที่ เช่น ช่องปากไม่สะอาด และหรือใส่ฟันปลอม ซึ่งอาจแสดงผลเป็นเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นแผล วัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษนี้เพื่อพัฒนาตารับประกอบด้วยสารสกัดจากพืชสาหรับใช้รักษาโรคในช่องปาก สารสกัดจากเม็ดในมะม่วง (MSKE) แทนนิกแอซิด (TA) และสารสกัดพญายอ ได้รับการคัดเลือกมาศึกษาและทดสอบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อรามาตรฐาน 2 สายพันธุ์ (ATCC 10231, ATCC 71023) โดยมีตัวยา คีโตโคนาโซลเป็นสารมาตรฐานอ้างอิง ตารับต่างๆได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยให้มีสารพอลิเมอร์ช่วยยึดเกาะชนิดต่างๆเป็นองค์ประกอบเพื่อให้ตารับสามารถยึดเกาะได้เป็นเวลานานในตาแหน่งที่ป้ายปาก ประสิทธิภาพของการยึดเกาะกับเยื่อบุของตารับที่พัฒนาขึ้นจะได้รับการประเมินทดสอบในหลอดทดลองโดยใช้เยื่อบุลาไส้หมู และทดสอบในอาสาสมัครสุขภาพดี ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราของตารับจะถูกประเมินโดยการหาค่าความเข้มข้นต่าสุดในการยั้บยั้งเชื้อรา (MIC) และความเข้มข้นต่าสุดในการ่่าเชื้อรา (MFC) ด้วยวิธี บรอทไมโครไดลูชันเทคนิค เอก้าดิสดิ้ฟฟิวชั่น และ เอก้าสตรี้ทเพท ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด MSKE และ TA มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราทั้ง 2 สายพันธุ์ โดยมีค่า MIC และ MFC เรียงตามลาดับดังนี้ : MSKE (1.96 ± 1.21, 4.95 ± 1.71 mg/mL) < TA (5.00 ± 0.00, > 5.00 ± 0.00 mg/mL) ส่วนสารสกัดพญายอ พบว่ามีศักยภาพต่าในการยับยั้งเชื้อราโดยมีค่า MIC และ MFC ที่สูงถึง 22.92 ± 4.79 และ 25.00 ± 0.00 %extract ตามลาดับ รูปแบบตารับเจลของสารสกัด MSKE และ TA ที่มีสารพอลิเมอร์ช่วยยึดเกาะชนิด hydroxypropyl methylcellulose และ Carbopol® 934 เป็นองค์ประกอบ พบว่ามีประสิทธิภาพยึดเกาะได้ดีมากกว่า 3 ชั่วโมง ในหลอดทดลอง และ ประมาณ 2 ชั่วโมง ในอาสาสมัครสุขภาพดี พบว่าตารับเจลมีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อราได้โดยมีค่า MIC เท่ากับ 5.20 ± 0.00 mg/mL สาหรับตารับ MSKE และ 13.33 ± 0.00 mg/mL สาหรับตารับ TA |
abstract: Fungal infections in humans occur as a result of defects in the immune system. Oral candidal infection usually involves local factors include poor oral hygiene and/or wearing dentures and these infections may present as primary oral mucosal lesions. The aims of this special project were to develop topical formulations containing plant extracts for the treatment of oral mucosal diseases. Mango seed kernel extract (MSKE), tannic acid (TA) and Payayor extract (Clinacanthus nutans) were selected in this study and were tested for their antimicrobial susceptibility using broth microdilution method against two standard strains (ATCC 10231, ATCC 71023) of Candida albicans. Ketoconazole was used as a positive reference standard. Various formulations containing mucoadhesive materials were developed to enable dosage forms prolonged retention at the site of application. The mucoadhesive ability of the developed formulations was tested in vitro using pig’s intestinal mucosal colon and in healthy volunteers. The antifungal activities of the formulations were evaluated by determination of their minimum inhibitory concentrations (MICs) and minimum fungicidal concentrations (MFCs) using broth microdilution technique, agar disk-diffusion and agar streak plate methods. It was found that both MSKE and TA demonstrated antifungal susceptibility against C. albicans as shown by their MICs and MFCs in the following order: MSKE (1.96 ± 1.21, 4.95 ± 1.71 mg/mL) < TA (5.00 ± 0.00, > 5.00 ± 0.00 mg/mL), respectively. Payayor extract was considered as a low potential susceptibility against C. albicans as shown by its high values of MIC and MFC (22.92 ± 4.79 and 25.00 ± 0.00 %extract, respectively). The water-soluble gel dosage form of MSKE and TA containing hydroxypropyl methylcellulose and Carbopol® 934 as adhesive materials demonstrated mucoadhesion > 3 h in vitro and up to 2 h in healthy volunteers. The gel formulations were found effective against C. albicans as shown by their MICs of 5.20 ± 0.00 mg/mL for MSKE formulation and 13.33 ± 0.00 mg/mL for TA formulation. |
. |