การแยกสารประกอบที่สำคัญออกจากรวงผึ้ง |
โดย: จิระพรรณ จิตติคุณ,จุฑารัตน์ พิมพ์ทนต์ ปีการศึกษา: 2540 กลุ่มที่: 17 อาจารย์ที่ปรึกษา: จรูญ เลียงชเยศ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี Keyword: , |
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเบื้องต้น เกี่ยวกับการหาสารประกอบที่สำคัญ ในรังผึ้ง และใน พรอพอลิส (propolis) โดยที่ propolis คือ ส่วนที่เป็นสารเหนียวๆ หรือยางเหนียว (resin) ที่ผึ้งงานจะเก็บมาจากเปลือกไม้เพื่อนำ ไปใช้ปิดรอยโหว่ของรังผึ้ง และห่อหุ้มศัตรูที่ถูกผึ้งฆ่าตายในรังผึ้ง ในสมัยโบราณ propolisนี้จะถูกนำมาใช้รักษาฝีและบาดแผลต่างๆ ต่อมาพบว่ามีฤทธิ์ antiseptic อีกด้วย ส่วนรังผึ้งที่มีจำนวนมากในปัจจุบัน ยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์มากนัก จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะนำมาศึกษาว่า รังผึ้งเหล่านี้ มีสารสำคัญอะไรอยู่บ้าง มีสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ propolis หรือไม่และจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับ propolis หรือไม่ ในขั้นตอนการศึกษาเบื้องต้นได้นำรังผึ้ง และ propolis มาสกัดโดยใช้ perculator, reflux และทำให้แห้งโดย rotary evaporator ทำการตรวจสอบโดย TLC หา solvent system ที่เหมาะสม และใช้ spray reagent ที่เหมาะสม ผลการทดลองปรากฏว่าสารสกัดที่ได้จากรังผึ้ง ให้ผล positive กับ reagent ที่ ตรวจสอบ ได้แก่ flavonoids, lipids, sugars, amino acids ส่วนสารสกัดที่ได้จาก propolisให้ผล positive กับ reagent ที่ใช้ตรวจสอบ flavonoids, lipids, sugars, anthraquinones |
abstract: This research is a preliminary study and a search for active ingredients in beehives, and particulary, the part of the beehives which is called the propolis. “Propolis” is the sticky or resinous materials usually found in woods and the bees use them for repairing the beehives and covering the bodies of dead enemies killed in the hives by the bees. In ancient time, propolis was used in healing wounds and boils, and sometimes, used as astringent, it was discovered later on to have an antiseptic property. Nowadays, large amount of beehives are discarded or not effectively used. Therefore, it would be of great interest to carry out studies concerning the active substances found in beehives whether they are actually propolis, or the same group of substances as propolis, or could be as useful as the actual propolis. Initially, propolis from the beehives were extracted using perculator, refluxed and dried by using rotary evaporator. The residues were then tested by TLC. The results of experiments indicates that extracts from beehives give positive reactions to the testing reagents which are flavonoids, lipids, sugars, amino acids, and the extracts from propolis indicates positive reactions to the testing reagents in flavonoids, lipids, sugars, and anthraquinones. |
. |