การศึกษารูปแบบการปลดปล่อยตัวยาสำคัญระหว่าง ไมโครพาร์ทิเคิลที่ได้จาก poly(lactide-co-glycolide) สองชั้นที่ได้จากพอลิเมอร์ทั้งสองชนิด |
โดย: นางสาวจริญญา สุภาภัทรานนท์, นางสาวพิชาภรณ์ รอดละมูล ปีการศึกษา: 2559 กลุ่มที่: 16 อาจารย์ที่ปรึกษา: อมราพร วงศ์รักษ์พานิช , วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: poly(lactide-co-glycolide), PLGA, poly lactic acid, PLA, microparticles, release profiles, poly(lactide-co-glycolide), PLGA, poly lactic acid, PLA, microparticles, release profiles |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปลดปล่อยตัวยาในรูปแบบเปปไทด์ของไมโครพาร์ทิเคิล (microparticles, MPs) ที่ถูกเตรียมขึ้นจากพอลิเมอร์เดี่ยวสองชนิด คือ พอลิเมอร์ 2 ชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่poly(lactide-co-glycolide) (PLGA) หรือ poly lactic acid (PLA) เปรียบเทียบกับ MPs ที่เตรียมจากพอลิเมอร์สองชนิดร่วมกัน (PLA/PLGA MPs, double-walled MPs) MPs ทุกชนิดจะถูกเตรียมจากกระบวนการ double emulsion solvent evaporation โดยอาศัย dichloromethane (DCM) เป็นสารละลาย และ poly(vinyl alcohol) (PVA) เป็นสารช่วยให้คงตัว เมื่อได้ MPs ออกมาแล้ว จะมีการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อลักษณะของ MPs ที่ได้ พบว่า การเพิ่มความเข้มข้นของ PVA และระยะเวลาในการ sonication มีผลทำให้ MPs ที่ได้มีขนาดลดลง ในขณะที่ double-walled MPs จะถูกศึกษาโดย MPs ที่มีการบรรจุสีย้อมเรืองแสง และใช้การถ่ายภาพโดยกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอล (confocal microscope) เนื่องจาก MPs ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ในการนำส่งอนุภาคเปปไทด์ ในการศึกษานี้จึงใช้ bovine serum albumin (BSA) เป็นตัวแทนยาที่บรรจุเข้าไปใน MPs ที่ได้ จากผลการศึกษาพบว่า double-walled MPs สามารถบรรจุ BSA เอาไว้ภายในได้ และมีอัตราการปลดปล่อยตัวยาที่ใกล้เคียงกับ PLGA MPs แต่มีอัตราการปลดปล่อยตัวยาที่เร็วกว่า PLA MPs โดยมุ่งหวังเพื่อใช้เป็นต้นแบบของ MPs เพื่อนำส่งวัคซีน โดยแบ่งวิธีการทดสอบแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ1. การทดสอบสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการเตรียม PLGA microparticlesMPs, 2.การทดสอบสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการเตรียม PLA/PLGA MPsdouble walled microparticles และ 3. การศึกษารูปแบบการปลดปล่อยตัวยาของ microparticles ทั้ง 3 ชนิด โดยใช้ bovine serum albumin (BSA) แทนตัวยาสำคัญที่บรรจุเข้าไปในไมโครพาร์ทิเคิลแต่ละขั้นตอนจะทำการศึกษาคุณลักษณะของไมโครพาร์ทิเคิลที่ได้ คือ mean particle size, polydispersity indexPDI, zeta potential, encapsulation efficiency และ production yieldผลการศึกษาพบว่าdouble walled microparticles ที่เตรียมได้เป็นชนิด PLA/PLGA MPsสองชั้น สามารถเตรียมได้โดยวิธี double emulsion solvent evaporation และ MPs ที่เตรียมได้PLA/PLGA microparticlesสามารถควบคุมการปลดปล่อยตัวยาได้ใกล้เคียง PLGA microparticles MPsซึ่งและจะมีอัตราการปลดปล่อยตัวยาที่เร็วกว่า PLA microparticle |
abstract: The This special project aimed to study the release profiles of peptide from were develop, poly(lactide-co-glycolide) (PLGA), poly lactic acid (PLA) and mixture of PLGA and PLA polymer (double-walled MPs). All batches of particles were prepared using double emulsion solvent evaporation method with dichloromethane as solvent and poly(vinyl alcohol) as a stabilizer.Factors affected the particles characteristic were investigated. It was found that increasing in stabilizer concentration and sonication time resulted in particle size reduction.The double-walled MPs core-shell structure was confirmed by observing the fluorescence-loaded MPs under confocal microscopy. Since these MPs were developed for peptide delivery, Bovine serum albumin (BSA) was used as the drug moiety. The double-walled MPs can entrap BSA inside and released BSA with the rate similar to PLGA MPs, but faster than PLA MPs. |
. |