การพัฒนาผงแห้งลิโปโซมที่เคลือบด้วยไคโตแซนโดยเทคนิคการพ่นแห้ง |
โดย: นางสาวธัญญาพร สุริยไพฑูรย์,นางสาวอนุสิษฐา เลขวัต ปีการศึกษา: 2555 กลุ่มที่: 16 อาจารย์ที่ปรึกษา: อัญชลี จินตพัฒนากิจ , มนตรี จาตุรันต์ภิญโญ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ลิโปโซม, แอลฟา-ไคโตแซน, เบต้า-ไคโตแซน, ไมโครสเฟียร์, การพ่นแห้ง, liposome, -chitosan, -chitosan, Microspheres, Spray dry |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเตรียมผงแห้งไมโครสเฟียร์ของลิโปโซมที่เคลือบด้วยแอลฟา-ไคโตแซน (ไคโคแซนจากเปลือกกุ้ง) และเบต้า-ไคโตแซน (ไคโตแซนจากแกนปลาหมึก) โดยเทคนิคการพ่นแห้ง ลิโปโซมของ 7:3 phospholipon?90H : cholesterol เตรียมโดยวิธี Thin-film hydration และลดขนาดอนุภาคด้วยเครื่อง Extruder หลังจากนั้นทำการเคลือบด้วยไคโตแซน ผงแห้งไมโครสเฟียร์ของลิโปโซมที่เคลือบด้วยไคโตแซนเตรียมโดยกระจายลิโปโซมที่เคลือบด้วยไคโตแซนและแมนนิทอล ในอัตราส่วนของลิโปโซม : แมนนิทอล เท่ากับ 1:9 ในน้ำปราศจากไอออน หรือสารละลายอะซิเตตบัฟเฟอร์ ในความเข้มข้น 1%w/v และทำให้เป็นผงแห้งโดยวิธีการพ่นให้แห้ง จากการทดลองพบว่าอัตราส่วนของลิโปโซมต่อไคโคแซนที่เหมาะสมในการเตรียมลิโปโซมเคลือบด้วยไคโตแซนคือ 1:8 และ 1:1 สำหรับแอลฟา-ไคโตแซน และเบต้า-ไคโตแซน ตามลำดับ เมื่อเทียบกับลิโปโซมที่มีขนาดอนุภาค 173 นาโนเมตร และประจุที่ผิว -1.2 มิลลิโวลต์ ลิโปโซมที่เคลือบด้วยไคโตแซนมีขนาดอนุภาค 247 นาโนเมตร และประจุที่ผิว +36.4 มิลลิโวลต์ สำหรับแอลฟา-ไคโตแซน และขนาดอนุภาค 174 นาโนเมตร และประจุที่ผิว +10.7 มิลลิโวลต์ สำหรับเบต้า-ไคโตแซน ในการเตรียมผงแห้งไมโครสเฟียร์ พบว่าน้ำกระสายยาที่ใช้ในการเตรียมผงแห้งไมโครสเฟียร์ของลิโปโซม และลิโปโซมที่เคลือบด้วยเบต้า-ไคโตแซนคือ น้ำปราศจากไอออน และน้ำกระสายยาที่ใช้ในการเตรียมผงแห้งไมโครสเฟียร์ของลิโปโซมที่เคลือบด้วยแอลฟา-ไคโตแซน คือ สารละลายอะซิเตตบัฟเฟอร์ หลังจากทำการบ่มผงแห้งไมโครสเฟียร์ในสารละลายประเภทต่างๆ พบว่าลิโปโซมสามารถกลับคืนสภาพเดิมได้เมื่อกระจายในน้ำปราศจากไอออน และสารละลายฟอสเฟสบัพเฟอร์ (pH 7.4) ลิโปโซมที่เคลือบด้วยแอลฟา-ไคโตแซนสามารถกลับคืนสภาพเดิมได้เมื่อกระจายในสารละลายอะซิเตตบัฟเฟอร์ ส่วนลิโปโซมที่เคลือบด้วยเบต้า-ไคโตแซน พบว่าไม่มีความคงตัวและไม่สามารถลับคืนสู่สภาพเดิมได้ในทุกสารละลาย |
abstract: The aim of this special project was to prepare microspheres of liposome coated with ?-chitosan (shrimp chitosan) and ?-chitosan (squid chitosan) by using spray dry technique. Liposomes of 7:3 phospholipon?90H : cholesterol were initially prepared by the thin film hydration technique and reduced size by extruder. The liposomes were then coated with chitosan. Microspheres of chitosan-coated liposomes were conducted by spray drying 1%w/v dispersion of chitosan-coated liposomes and mannitol (liposome : mannitol of 1:9) in deionized water or acetate buffer. It was found that the optimal ratios of liposome : chitosan for preparing chitosan-coated liposomes were 1:8 and 1:1 for ?-chitosan and ?-chitosan, respectively. Compared to non-coated liposomes with a size of 173 nm and a surface charge of -1.2 mV, ?-chitosan coated liposomes had a size of 247 nm with a surface charge of 36.4 mV and ?-chitosan coated liposomes had a size of 176 nm with a surface charge of 10.7 mV. Vehicle used in microspheres preparation was deionized water for liposome and ?-chitosan coated liposomes and acetate buffer for ?-chitosan coated liposomes. After incubating microspheres in various solutions, the recovering of non-coated liposomes was observed in deionized water and pH 7.4 phosphate buffer, while the recovering of ?-chitosan coated liposomes was found only in acetate buffer. Nevertheless, It was observed that ?-chitosan coated liposomes cannot be recovered after resuspending in all solutions. |
. |