การวิเคราะห์องค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาสมุนไพรรักษาเบาหวานของโรงพยาบาลวังน้ำเย็น

โดย: ดวงพร โรจนรัตนางกูร , ณีรนุช ศรีเจริญ    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 16

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยนุช โรจน์สง่า , ปองทิพย์ สิทธิสาร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: ตำรับยาสมุนไพร, โรคเบาหวาน, DPPH scavenging activity, gallic acid, flavonoids, TLC fingerprint , Herbal formula, diabetes mellitus, DPPH scavenging activity, gallic acid, flavonoids, TLC fingerprint
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันมีการนำยาสมุนไพรมารักษาโรคเรื้อรังต่างๆเช่นโรคเบาหวาน เพราะยาสมุนไพรมีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาสังเคราะห์ ซึ่งโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เป็นโรงพยาบาลที่มีการผลิตยาสมุนไพรซึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 26 ชนิด ในรูปแบบยาลูกกลอนมาใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวาน โดยจุดประสงค์ของการศึกษานี้คือ การศึกษาข้อมูลทางพฤกษเคมีของตำรับยาเบาหวาน และวัตถุดิบแต่ละชนิดในตำรับ โดยวิธี thin-layer chromatographic (TLC) รวมทั้งหาปริมาณสารประกอบ ฟีโนลิครวม สารประกอบฟลาโวนอยด์รวม และ 1,1-diphenyl-2-picryl-hydrazyl (DPPH) scavenging activity ของตำรับยาลูกกลอน จากการศึกษาโดย TLC ของสารสกัดเมทานอลของตำรับยาและส่วนประกอบในตำรับ พบว่า มีสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบ 11 ชนิดที่ประกอบด้วยสารโพลีฟีนอลและฟลาโวนอยด์ จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำโดยการต้ม และ สารสกัด 80%nเอทานอลโดยการหมักของตำรับยาลูกกลอนมีค่า IC50= 78.34 และ 72.50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ และ antioxidant capacity เท่ากับ 50.58 และ 54.68 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ vitamin c equivalent ตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีโนลิครวมของสารสกัดน้ำ และสารสกัด80% เอทานอล คือ 316.3±6และ224.04±0.5 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ gallic acid equivalent ตามลำดับ และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมเท่ากับ 88.18±0.46 และ 89.41±4.73 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ rutin equivalent ตามลำดับ
abstract:
Diabetes mellitus (DM) is chronic disease caused by acquired deficiency in insulin secretion and by decreased sensitivity of the organs to insulin. Oxidative stress is involved in the pathogenesis of DM and its complications including cardiovascular diseases, chronic renal failure and retinal damage. Herbal medicines have been used to improve quality of human life and for the treatments of chronic diseases including DM due to their safety and lower side effects than synthetic drugs. To investigate phytochemical profile of diabetes herbal formula powder and each ingredient by thin-layer chromatographic (TLC) analysis. And to determine total phenolic and flavonoid contents and DPPH radical scavenging activity from herbal pills. Extracts from pills, macerated with 80% ethanol and decoction, were determined for free radical scavenging activity by 1,1-diphenyl-2-picryl-hydrazyl (DPPH) scavenging assay and quantitatively analyzed for total phenolic and flavonoid contents of the extracts were conducted using Folin-Ciocaltue and Dowd method. Ethanolic extract of diabetes herbal pill showed moderate antioxidative activity, contained phenolic and flavonoid compounds. TLC analysis of powder showed Terminalia chebula fruit extract and its gallic acid could be used as marker ingredient and compound of herbal formula for further standardization.
.