อิทธิพลของ magnesium stearate ต่อคุณสมบัติต่างๆของยาเม็ดhydrochlorothiazide ชนิดตอกโดยตรง |
โดย: พัชรธร สายทอง, อิสรีย์ จรรยาศักดิ ปีการศึกษา: 2548 กลุ่มที่: 15 อาจารย์ที่ปรึกษา: อำพล ไมตรีเวช , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: ยาเม็ด hydrochlorothiazide, magnesium stearate, การตอกโดยตรง, lactose, hydrochlorothiazide tablet, magnesium stearate, direct compression, lactose |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของ magnesium stearate ในการเป็นสารช่วยลื่นต่อคุณสมบัติของยาเม็ด hydrochlorothiazide (HCTZ) ที่เตรียมด้วยวิธีตอกโดยตรงโดยใช้ lactose จากแหล่งต่าง ๆ เป็นสารเพิ่มปริมาณ และใช้ magnesium stearate ในปริมาณร้อยละ 0.7, 1.0 และ 1.5 ของตำรับ Lactose ที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่ Super-tab®, Fast-flo®, Tablettose®, Flowlac®100, Pharmatose®DCL21 และ Ludipress® จากการประเมินคุณสมบัติของยาเม็ดพบว่า tensile strength เพิ่มขึ้นและ ความกร่อนของเม็ดยาลดลงเมื่อเพิ่มแรงตอกและเมื่อปริมาณ magnesium stearate เพิ่มขึ้นจะทำให้ tensile strength ลดลง ยาเม็ด HCTZ ที่เตรียมได้แตกตัวเร็ว และการเพิ่มแรงตอกมีผลทำให้ยาเม็ดแตกตัวได้เร็วขึ้น เมื่อนำยาเม็ด HCTZ ที่มีความแข็งระหว่าง 4-7 kg มาทดสอบการละลายพบว่า ยาเม็ดที่เตรียมจากlactoseจากแหล่งต่างๆ มีการปลดปล่อยตัวยาไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้น Fast-flo® และ Ludipress® ทำให้ยาเม็ดปลดปล่อยตัวยาได้น้อยลงและช้าลง เมื่อดูผลของ magnesium stearate ต่อการละลายของยาเม็ดพบว่า ปริมาณ magnesium stearate ไม่มีผลต่อการละลายของยาเม็ดที่ใช้ Pharmatose® DCL21 ในขณะที่ Ludipress® ให้การปลดปล่อยยามากขึ้นเมื่อปริมาณ magnesium stearate ในตำรับเพิ่มขึ้น |
abstract: The objective of this study was to study the effect of magnesium stearate concentrations on directly compressible HCTZ tablets, using lactose as a filler. Three concentrations of magnesium stearate, i.e. 0.7 %, 1.0 % and 1.5 % were investigated. Different sources of Lactose i.e., Super-tab®, Fast-flo®, Tablettose®, Flowlac®100, Pharmatose® DCL21 and Ludipress® were used in the study. The increased compression force resulted in the increased tablet tensile strength and the decreased friability. The increased amount of magnesium stearate resulted in the decreased tablet tensile strength. All formulations gave fast disintegrating tablets the increase in compression force led to faster disintegration. HCTZ tablets which the hardness were comparable were chosen for dissolution test. The dissolution profiles of HCTZ tablets prepared from different sources of lactose were similar except those prepared from Fast-flo® and Ludipress® of which the dissolution profiles were lower in both rate and extent. No effect of the concentrations of magnesium stearate was observed with HCTZ tablets prepared from Pharmatose® DCL21 whereas the increased in magnesium stearate resulted in higher dissolution of HCTZ tablets prepared from Ludipress®. |
. |