การสกัดและเปรียบเทียบน้ำมันจากเมล็ดกระบกและน้ำมันจากเมล็ดอัลมอนด์ |
โดย: นันทวัน เฉลิมพันธ์,ปิยนุช โจน์สง่า,ณัฐชา สุขถาวรพันธุ์ ปีการศึกษา: 2544 กลุ่มที่: 15 อาจารย์ที่ปรึกษา: จรูญ เลียงชเยศ , กิตติพงศ์ วีรวัฒนเมธินทร์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี Keyword: น้ำมันจากเมล็ดกระบก, น้ำมันจากเมล็ดอัลมอนด์, การสกัดน้ำมัน, คุณสมบัติทางกายภาพ, คุณสมบัติเฉพาะ , Irvingia seed oil, Almond seed oil, Oil extraction, Physical properties, Specification |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสกัดน้ำมันจากเมล็ดกระบก (Irvingia malayana Oliv.ex A. Benn.) โดยวิธีต้ม (Reflux) และ วิธีบีบเย็น(Cold pressing)รวมทั้งเปรียบเทียบคุณสมบัติและส่วนประกอบระหว่างน้ำมันจากเมล็ดกระบกและน้ำมันจากเมล็ดอัลมอนด์ การสกัดน้ำมันด้วยวิธีต้ม ใช้ hexane เป็นตัวทำละลาย สกัดเป็นเวลา 1 ชั่วโมงและนำกากมาสกัดซ้ำอีก 1 ชั่วโมง นำสารสกัดที่ได้มาระเหย hexane ออกด้วยเครื่องระเหยลดความดัน (Rotary Evaporator)ส่วนการสกัดด้วยวิธีบีบเย็นทำได้โดยนำเมล็ดกระบกที่บดเป็นชิ้นเล็กๆแล้วมาบีบเอาน้ำมันโดยใช้เครื่องบีบน้ำมันชนิด Hydraulic นำน้ำมันที่ได้จากทั้ง 2 วิธี มากำจัดสีและกลิ่นโดยใช้ bentonite จะได้น้ำมันจากวิธีต้ม 13.58%w/w และวิธีบีบเย็น 10.53%w/w คุณสมบัติทางกายภาพที่ศึกษาเช่น สีและกลิ่น พบว่า วิธีบีบเย็นมีสีเหลืองเข้มกว่าวิธีต้ม และมีกลิ่นเฉพาะตัวค่อนข้างแรงทั้ง 2 วิธี ส่วนการวิเคราะห์ส่วนประกอบของน้ำมันจากเมล็ดกระบกและน้ำมันจากเมล็ดอัลมอนด์ด้วยวิธี Thin Layer Chromatography พบว่าน้ำมันจากเมล็ดกระบกที่สกัดด้วยวิธีต้มและวิธีบีบเย็นมี Chromatogram ใกล้เคียงกับน้ำมันจากเมล็ดอัลมอนด์ และเมื่อนำมาทดสอบคุณสมบัติเฉพาะ(Specification)พบว่าน้ำมันจากเมล็ดกระบกที่สกัดด้วยวิธีต้มและวิธีบีบเย็นมีค่า acid value =74.45,97.13, saponification value = 215.14, 218.93, peroxide value = 0.12, 0.12, iodine value = 2.82, 3.19, unsaponifiable matter= 0.46%,0.64%ตามลำดับ จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า คุณสมบัติเฉพาะของวิธีต้มค่อนข้างดีกว่าวิธีบีบเย็น อาจเกิดเนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในวิธีบีบเย็น เก็บไว้นานกว่าสารต่างๆ จึงสลายตัวไปมากกว่า ดังนั้นวัตถุดิบที่นำมาใช้ไม่ควรเก็บไว้นาน ควรนำมาสกัดทันที |
abstract: The purpose of this special project is the comparison between Reflux method with Cold pressing method of the extraction of irvingia seed oil(Irvingia malayana Oliv. Ex. A. Benn.)and including the comparative properties,component between irvingia seed oil and almond seed oil.In the Reflux method, hexane is used to extract the oil from seed for one hour. These the residual is reextract further again for another hour,it is evaporated by rotary evaporator.The Cold pressing method is done by taking the crushed irvingia seed and pressing for oil by the hydraulic pressure expeller.The oil obtained from both methods are decolorized and deodorized by using bentonite. The extracted oil from Reflux method is 13.58%w/w and the oil from Cold pressing method is 10.53 %w/w. The studying of physical properties in color and odor of the oil obtained by Cold pressing method is more yellow than Reflux method and the specific odor is strong in both methods. The component analysis of irvingia seed oil and almond seed oil by Thin layer chromatography has shown that the oil from both methods have the chromatogram seem to almond seed oil. The following are reports for specification of Reflux method and Cold pressing method, acid value=74.45,97.13,saponification value=215.14,218.93, peroxide value=0.12,0.12,iodine value=2.81,3.19 and unsaponifiable matter= 0.46%,0.64% consequently. The result shows that specification of Reflux method is better than Cold pressing method, because the raw material of Cold pressing method is stored longer than Reflux method. Its component is thus more readily decomposed. Therefore, raw material should not be stored for a long period of time. |
. |