การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อการเกิดปฏิกริยาที่สมบูรณ์ในการวิเคราะห์เพนนิซิลินโดยไอโอโดเมทรี |
โดย: นางสาวนันทิยา สมเจตนากุล, นางสาววิมลณัฐ สุรกุล ปีการศึกษา: 2557 กลุ่มที่: 14 อาจารย์ที่ปรึกษา: พิสมัย กุลกาญจนาธร , สลินทิพย์ จารุสินธนากร , บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี Keyword: ยาปฏิชีวนะ, ไอโอโดเมทรี, ไดคลอกซาซิลิน โซเดียม, เบต้าไซโคลเดกซ์ตริน, มิลลิสมมูล, Antibiotics, Iodometric assay, Dicloxacillin sodium, β-cyclodextrin, milliequivalent weight |
บทคัดย่อ: การดัดแปลงวิธีวิเคราะห์ยากลุ่มเพนนิซิลินโดยวิธีไอโอโดเมทรีจากตำรายาสหรัฐอเมริกาเพื่อพัฒนาวิธีวิเคราะห์ไดคลอกซาซิลิน โดยไดคลอกซาซิลินถูกออกซิไดส์ด้วยไอโอดีนที่มากเกินพอ ไอโอดีนที่มากเกินพอถูกไทเทรตกลับด้วยโซเดียมไทโอซัลเฟท การเติมเบต้าไซโคลเดกซ์ตรินจะช่วยลดระยะเวลาการออกซิไดส์ในปฏิกิริยาจาก 30 นาทีเหลือ 20 นาที การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อการเกิดปฏิกริยาที่สมบูรณ์ทำได้โดยเปลี่ยนแปลงปริมาณไดคลอกซาซิลินเพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ การตรวจสอบวิธีวิเคราะห์ในหัวข้อความเป็นเส้นตรง, ความถูกต้องและความเที่ยงพบว่าวิธีมีความเที่ยง ความถูกต้องและมีความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง จากการวิจัยสรุปว่าแต่ละมิลลิลิตรของ 0.01 N ไอโอดีนทำปฏิกิริยาพอดีกับไดคลอกซาซิลิน โซเดียม 0.6579 มิลลิกรัม การประยุกต์ใช้วิธีไอโอโดเมทรีที่ดัดแปลงในการวิเคราะห์ปริมาณไดคลอกซาซิลิน โซเดียมในแคปซูล 2 บริษัท และเปรียบเทียบผลกับวิธีไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ ลิควิดโครมาโทราฟี (HPLC) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในตำรายาสหรัฐอเมริกา พบว่าปริมาณร้อยละของฉลากของไดคลอกซาซิลิน โซเดียมในแคปซูล ด้วยวิธีทั้งสอง โดยใช้ t-test ให้ผลไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 |
abstract: The modified iodometric titration, which was adjusted from The United States Pharmacopeia (USP), for the assay of penicillins was developed for the determination of dicloxacillin. Dicloxacillin is oxidized by an excess iodine. Then, an excess iodine was titrated back with sodium thiosulfate. The addition of β-cyclodextrin during the reaction could decrease the time for oxidizing from 30 to 20 minutes. Study of stoichiometric reaction was performed by varying the amount of dicloxacillin to find the optimum concentration for the analysis. Method verification was performed in terms of linearity, accuracy and precision (repeatability). The method was precise, accurate and showed good linearity. It showed that each milliliter of 0.01 N of iodine was equivalent to 0.6579 milligrams of dicloxacillin sodium. The application of method was performed by determining two difference brands of dicloxacillin capsule using the modified method and high performance liquid chromatography (HPLC), which is an official method for the assay of dicloxacillin sodium capsule in USP monograph. The percentages of labeled amount, which obtained from these two methods, were compared using statistical evaluation, t-test. Results were indicated that there was no significant difference from these two method at 95% confident interval. |
. |